On-Page SEO

Son Content Mastery
Updated: Sept. 5, 2023


On-Page เป็นสิ่งที่ควรทำให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้โดยตรง หรือเป็นปัจจัยภายในนั่นเอง บทเรียนนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า On-Page SEO คืออะไร มีวิธีไหนบ้างในการปรับ On Page เพื่อให้หน้าเว็บของเราไปติดอยู่ในหน้าแรก Google กันครับ


On-Page SEO คืออะไร ?

On-Page SEO คือการปรับแต่งหน้าเว็บของเราให้ optimize หรือดีต่อ Google Search เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้โดยตรง โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับการเขียนและปรับคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์ การเขียนและปรับ Meta Tags ต่าง ๆ เช่น Meta Title, Meta Description รวมไปถึงการดีไซน์ URLs และการจัดวาง Headings และ Keywords ต่าง ๆ ภายในหน้าเว็บเพจ

บทความนี้จะเป็นการรวมเช็คลิสต์การทำ On-Page SEO มาให้ครบ จบในบทความเดียวครับ อ่านจบเชื่อว่าเพื่อน ๆ จะสามารถนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับการทำ SEO เพื่อโอกาสในการติดหน้าแรก Google ได้สูงขึ้นอย่างแน่นอนครับ


1.  URL Slug มีคีย์เวิร์ดและสั้น กระชับ

วิธีการนี้เราจะเรียกว่าการ optimize URL ก็ว่าได้ ควรมีคีย์เวิร์ดอยู่ใน URL  เช่น mybookshop.com/second-hand-book นี่คือตัวอย่างคีย์เวิร์ดเป็นต้น ซึ่งบ่งบอกว่าหน้าเว็บเพจนี้เกี่ยวกับ "หนังสือมือสอง" แบบเต็ม ๆ และที่สำคัญ URL ของเรานั้นควรกระชับและสื่อความหมาย ยิ่งถ้าเป็นไปได้ ควรให้ keyword ที่สำคัญสุดอยู่ด้านหน้าสุด 

บทความแนะนำ: การออกแบบ URL ที่ดีที่สุดสำหรับ SEO


ตัวอย่าง URL slug ที่มีคีย์เวิร์ด


2. Meta Title (headline) พาดหัวต้องโดดเด่น

Meta Title หรือ Title พาดหัวบทความต้องน่าสนใจและดึงดูดคนอ่าน เพราะว่าส่วนนี้คือส่วนที่ปรากฏได้เด่นชัดที่สุดบนหน้า SERP หรือ Google Search และแน่นอนว่ามันส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราการคลิก (CTR: Click Through Rate) ให้คนคลิกเปิดมาอ่านบทความของเราเมื่อเจอในหน้า Google Search


ตัวอย่าง Meta Title 

แต่พาดหัวก็ไม่ควรเป็น clickbait ด้วยเช่นกันเพราะถ้าคนเปิดเข้ามาอ่านแล้วไม่เจอกับประสงค์ของการค้นหา (search intent) ของผู้อ่านแล้ว ก็จะทำให้เขาเหล่านั้นกดออกจากเว็บไซต์เราในทันที ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า Brounce Rate สูง เป็นการส่งสัญญาณให้ Google ทราบว่าบทความของเราไม่ตอบโจทย์ นำมาซึ่งประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดีต่อผู้ใช้ ท้ายสุดแล้วผู้ใช้อาจจะเกิดภาพจำที่ไม่ดีต่อเว็บไซต์ จนอาจลามไปถึงแบรนด์ของเราก็เป็นไปได้ แทนที่จะได้ผลดีต่อการทำ On-Page SEO แต่กลับกลายเป็นผลเสียซะงั้น

อ่านเพิ่มเติม: Meta Title แท็กสำคัญสุดสำหรับ SEO


3. Meta Description ปัจจัยเสริมช่วยหนุน CTR

Meta Description เป็นส่วนที่แสดงผลด้านล่าง Meta Title ในหน้า Google Search โดยผมแนะนำว่าควรเป็นการเขียนอธิบายด้วยย่อหน้าสั้น ๆ เพื่อขยายความ Title ที่เราได้เขียนไปก่อนหน้า

ให้มองว่าเป็นการสรุปเนื้อหาภาพรวมบทความของเรา ควรเขียนอธิบายให้น่าสนใจ กระชับ เป็นไปได้ควรมีจำนวนไม่เกินกว่า 160 ตัวอักษร (คือไม่ควรเยอะเกินไปกว่านี้) และแม้ว่า Meta Description จะไม่ส่งผลต่อ SEO โดยตรง แต่ส่งผลต่อ CTR ดังนั้นส่วนนี้ก็สำคัญไม่น้อยต่อการทำ On-Page SEO

อ่านเพิ่มเติม: Meta Description


4. จัดวาง Headings ให้เป็นลำดับขั้น

H1 คือ HTML tag ซึ่งอาจจะต้องมีความรู้ในส่วนของการทำเว็บหรือโค้ดดิ้งหรืออย่างน้อยที่สุดก็ เช่น HTML มาบ้างครับถึงจะเข้าใจส่วนนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดย h1 คือแท็กที่มีค่าพลังเยอะและสำคัญสุดสำหรับ Google ในบรรดา Heading Tags (h1 - h6) ดังนั้น tag นี้ "ควรจะ" มีอันเดียวต่อหน้าเว็บ 1 หน้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้แท็กนี้สำหรับชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ (title นั่นเอง)

h2 จะใช้เป็นหัวเรื่องหลักและ H3 จะเป็นหัวเรื่องรอง ควรวางโครงสร้างการเขียนให้เหมาะสมตามลำดับชั้นความสำคัญ (Hierarchy) ของบทความนั้น ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ของบทความที่เพื่อน ๆ กำลังอ่านอยู่

  • On-Page SEO (h1)
  • On-Page SEO คืออะไร?, .... (h2)
  • ...(h2)


Headings (Image credit: Ahrefs)

จะเห็นว่าชื่อบทความใช้ h1 มีได้อันเดียว และควรอยู่บนสุด ส่วน subtitle ของบทความนั้นแต่ละส่วนใช้ h2 มีได้หลายอัน


5. เนื้อหาต้องครอบคลุม

เนื้อหาต้องบทความก็ต้องครอบคลุม ครบ ทุกประเด็นในหัวข้อนั้น ๆ บางหัวข้อไม่จำเป็นต้องเขียนเยอะ ยืดยาว ส่วนบางหัวข้อที่มีหัวข้อย่อยเยอะ ๆ หรือถ้าเขียนสั้น ๆ กระชับแล้วได้เนื้อหาไม่ครบ ก็ต้องเขียนให้ครอบคลุม ไม่จำเป็นต้องเขียนให้ยืดยาวทุกบทความ แต่ขอให้ตอบโจทย์สิ่งที่ผู้ใช้ได้ค้นหาครับ


6. อย่าเขียนแบบชักแม่น้ำทั้ง 5 (เขียนไปเรื่อย)

ควรเขียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องของบทความและคีย์เวิร์ดหรือ Search Intent ที่เราโฟกัส ไม่ใช่เขียนไหลไปเรื่อย จนจับประเด็นไม่ได้ โดยผมเน้นย้ำจริง ๆ ครับว่าเนื้อหาที่เขียนต้องเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เขียนแบบครอบจักรวาล แบบต้องการดึง traffic จากหลาย ๆ คีย์เวิร์ด จนมันดูเยอะแยะไปหมดมารวมไว้ในบทความเดียว เพื่อให้คนค้นเจอหลาย ๆ คีย์เวิร์ด แต่สุดท้ายพอคนเปิดมาอ่านแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยตรงประเด็น ในที่สุดก็กดออกจากเว็บเราไปอยู่ดี แถมพวกเขาเหล่านั้นอาจจะจดจำภาพที่ไม่ดีไปแล้วเรียบร้อย (พูดง่าย ๆ คือน้ำเยอะเกินไป)

คำแนะนำ: 1 หน้าเว็บควรโฟกัสแค่ 1 คีย์เวิร์ดหลัก (Main Keyword) 


7. อย่าลืมทำ Internal Linking

การทำ Internal Links (ลิงก์ภายในเว็บ) เพื่อเชื่อมไปยังบทความหรือหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องในเว็บของเรา จะทำให้เป็นการส่งพลังของลิงก์ให้แก่กันไปมาภายในเว็บ ทำให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่ออ่านบทความหรือหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้ Google ทำการค้นเจอ เชื่อมโยง หรือ index หน้าเว็บอื่น ๆ ของเราได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นในบทความนี้เพื่อน ๆ คงสังเกตและเห็นได้ว่าผมได้มีการแทรกลิงก์ไปที่หน้าเว็บอื่น ๆ ภายในเว็บไซต์ contentmastery.io นี้ เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้คลิกไปอ่านรายละเอียดหรือทบทวนเพิ่มเติมสำหรับเนื้อหานั้น ๆ 

นอกจากเป็นการแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องแล้วนั้น การทำ Internal Link ยังส่งผลให้ผู้อ่านใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น (Time on Site) เป็นการส่งสัญญาณที่ดีต่อ Google ว่าผู้ใช้ชอบเนื้อหาเว็บเรานะ เว็บเรามีคุณภาพผู้ใช้จึงใช้เวลาอยู่กับเว็บเรานาน เป็นต้น


8. Image Optimization

รูปภาพควรถูก compressed (บีบอัด) ให้มีขนาดไฟล์ที่เล็กเท่าที่จะทำได้ เพราะเว็บจะได้ไม่โหลดช้า เนื่องจากไฟล์ภาพใหญ่เกินไป โดยมีอีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมคือ "Lazy Loading" (แต่ต้องทำเฉพาะรูปภาพที่อยู่ล่าง ๆ ของหน้าเว็บเพจด้วยนะครับ)

<img src="image.jpg" loading="lazy"> 


และรวมไปถึงฟอร์แมตรูปภาพที่ Google เองได้แนะนำ คือ WebP

ซึ่งทาง Google บอกว่า

"WebP typically achieves an average of 30% more compression than JPEG and JPEG 2000, without loss of image quality"


บทความแนะนำ: WebP ฟอร์แมตรูปภาพที่ช่วย Optimize ให้เว็บเร็วขึ้น 100%

และอีกคำแนะนำคือรูปภาพควรมีคีย์เวิร์ดหรือคำที่สื่อความหมายใน alt แท็ก ซึ่งเป็น HTML tag ที่เป็นแอตทริบิวต์ของรูปภาพ

ตัวอย่าง alt attribute ในแท็กรูปภาพ (img)

<img src="image.jpg" loading="lazy" alt="on_page_seo"> 

ส่วนนี้เราจะเห็นได้ใน Google พอเราเสิร์ชและเลือกไปที่หัวข้อ Image จะเจอภาพต่าง ๆ ซึ่งแท็ก alt นี่แหละจะเป็นตัวช่วยดันให้ภาพในบทความหรือเว็บของเราไปปรากฏในหน้า Google Search (image) และพอคลิกที่ภาพ ก็จะลิงก์มาที่หน้าเว็บเรา ช่วยเพิ่มทราฟฟิกได้อีกทาง


9. Keyword Density

Keyword Density คือ ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดในหน้าเว็บเพจหรือบทความของเรา อันนี้ก็มีผลต่อ SEO อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ สมมติว่าเรากำลังเขียนบทความเรื่อง "Content Marketing" ถ้าบทความเรามีคำทั้งหมด 1,000 คำในบทความนี้ ควรมีคีย์เวิร์ดนี้อยู่ในบทความนี้ประมาณ 1 - 2% ก็จะได้ประมาณ 10 - 20 คำโดยประมาณ และไม่ควรอัดกันอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ควรกระจายไปให้ทั่วทุกส่วนของบทความ

Note: ไม่แนะนำให้อัดคีย์เวิร์ดเยอะจนเกินไป เพราะ Google จะมองว่าเรากำลังทำ Keyword Spamming หรือ Keyword Stuffing อยู่ แทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับกลายเป็นว่าโดน Google ลงโทษ (อีกแล้ว) ซะงั้น 


การทำ Keyword Stuffing หรืออัดคีย์เวิร์ดเยอะเกินไป (ตัวอย่างที่ไม่แนะนำ)


10. ติดอันดับง่ายขึ้นด้วยการใช้ "คือ" หรือ "คืออะไร"

นี่คือเทคนิคที่อาจจะยังไม่ค่อยมีใครบอกครับ เพราะว่าอันนี้คือมาจากประสบการณ์ส่วนตัว  ดังนั้นการเขียนบทความควรมีการอธิบายว่าสิ่งนี้มันคืออะไร ตัวอย่างเช่น สมมติว่าผมกำลังจะเขียนบทความเรื่อง Facebook Ads ผมก็จะเริ่มเขียนในส่วนของเนื้อหาโดยเริ่มจากคำว่า Facebook Ads คืออะไร? (กำหนดเป็นหัวข้อหลักในทั้ง Meta Title และเพิ่มใน h2 tag) จากนั้นก็ตามด้วยการอธิบาย "Facebook Ads คือ ......"  

ตัวอย่างการค้นหาคำว่า "Domain Name คือ" ในหน้า SERP จะเห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นหน้าเว็บที่มีคำว่า "คือ" ลงท้ายด้วยทั้งสิ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามันคือคีย์เวิร์ดที่เป็นคำถามยอดนิยมนั่นเองของคนไทย "คือ คืออะไร" ทำนองนี้ ถ้าเป็นชาวฝรั่งมังค่าก็มักจะค้นหาว่า "what is ..." 


เห็นไหมครับว่ามันได้ผลจริง ๆ


11. เขียนให้เป็นธรรมชาติ

หลายคนอาจจะเขียนเองหรือแม้แต่ใช้ AI ช่วยในการเขียน เช่น ChatGPT, Bard, etc เพราะว่ามันเขียนได้ง่ายและสะดวกมาก ๆ ใช่ไหมครับ ? จนลืมปรับแต่งให้มันดูเป็นธรรมชาติ เช่น มีคำว่า "คุณ" อะไรแบบนี้เยอะเกินไป ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่ได้ engage กับผู้อ่านเลย (ผู้อ่านส่วนใหญ่ฉลาดครับ รู้ว่าอันไหนใช้ AI อันไหนเขียนเอง) แนะนำเป็นไปได้ควรเล่าเรื่องคล้าย ๆ ว่าเรากำลังเล่าอะไรบางอย่างให้เพื่อนฟัง เพราะสมัยนี้เน้นความเรียลกันแล้วครับ (ยกเว้นพวกงานวารสารวิชาการหรืองานเขียนที่ต้องการความเป็นทางการหน่อย อันนี้ก็เป็นข้อยกเว้น)


12. โฟกัสที่คุณค่าแก่ผู้อ่าน

ให้นึกถึง "คุณค่า" ที่จะมอบให้คนอ่านหรือคนเสิร์ชก่อน ส่วน "SEO" มันจะตามมาเป็น reward (รางวัล) ให้เราแบบงาม ๆ ในภายหลัง และเว็บเราจะอยู่ยาว ๆ และนั่งใจคนอ่านได้ไปอีกนานแสนนาน

สรุป

On Page เป็นปัจจัยภายในในการทำ SEO ที่เราสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเราเอง ดังนั้นในส่วนนี้ผมเชื่อว่าเพื่อน ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยครับ แล้วพบกันในบทเรียนถัดไปครับ


FAQ

On-Page SEO คือ เป็นปัจจัยภายในที่เราสามารถควบคุมได้โดยตรงในการทำ SEO โดยจะเกี่ยวข้องกับการเขียนและปรับคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์
ทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ ครอบคลุมในคีย์เวิร์ดหรือบทความที่กำลังเขียน จัดวาง headings ต่าง ๆ ให้เหมาะสม รวมไปถึงปรับการเขียน Meta Title และ Description เพื่อดึงดูดการคลิก เป็นต้น
Google ไม่ได้สนว่าที่มาของคอนเทนต์จะมาจากแหล่งไหน หรือถูกสร้างด้วยอะไร สิ่งที่ Google ต้องการก็คือผลลัพธ์สุดท้าย... นั่นก็คือ Quality Content !! (คอนเทนต์คุณภาพ) ถ้าเราสามารถปรับ เรียงเรียงหรือขัดเกลาให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ก็ไม่ต้องกังวลส่วนนี้ครับ

พร้อมอัพสกิล SEO เต็มรูปแบบ ?

เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง กับคอร์สเรียน SEO + Web เข้าใจ SEO ในทุกมิติ เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของเว็บ พร้อมทั้งสามารถทำ Technical SEO ได้อย่างไม่มีปัญหา ปิดจุดด้อยทุกจุด กับคลาสเรียนแบบเป็นส่วนตัวกับ Son Content Mastery