Meta Description ช่วยให้เปอร์เซ็นต์การคลิกเข้าชมหน้าเว็บไซต์ (CTR: Click Through Rate) สูงขึ้นได้ นั้นหมายความว่าคนจะเข้าชมเว็บเราได้มากขึ้นหรือทราฟฟิกสูงขึ้นนั่นเอง แล้วเจ้า Meta Description มันคืออะไร โครงสร้างหลักการทำงาน รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเจ้า HTML tag ตัวนี้ รวมไว้ครบ จบในบทความนี้ครับ
Meta Description คืออะไร ?
Meta Description คือส่วนของข้อมูลในหน้าเว็บเพจนั้น ๆ ที่เป็นคำอธิบายฉบับย่อเพื่อสรุปภาพรวมของหน้าเว็บเพจนั้น ๆ แบบกระชับ โดยจะปรากฏอยู่ในหน้า SERP อยู่ด้านล่าง Meta Title
ตัวอย่าง Meta Description ที่แสดงผลบนหน้า SERP
ตัวอย่าง Meta Description
ตัวอย่างโค้ด HTML ของ Meta Description
<meta name="description" content="SEO & Web consultant
based in Bangkok Thailand รับทำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำ SEO
และ Website สำหรับเจ้าของธุรกิจ." />
วิธีการเขียน Meta Description ที่ดี
นี่คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) ในการเขียน Meta Description
1. Meta Description ไม่ควรเนื้อหาซ้ำกันในแต่ละหน้าเว็บเพจ
Meta Description ควรมีความเฉพาะเจาะจง ไม่ซ้ำกันในแต่ละหน้า ก็แน่นอนครับว่าเนื้อหาแต่ละหน้าเว็บเพจไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะต้องก็อปปี้ Meta Description ไปใส่ให้เหมือนกันในทุก ๆ หน้า
2. Meta Description ไม่ควรยาวเกิน 155 ตัวอักษร
จริง ๆ แล้ว Google ก็ไม่ได้มีข้อห้ามที่ชัดเจนว่าความยาวต้องไม่เกินเท่าไหร่ แต่ถ้าสังเกตให้ดีในหน้า SERP หรือหน้า Google ที่เราเสิร์ชกันอยู่ในทุก ๆ วันจะเห็นว่าความยาวของ Meta Description นั้นไม่ได้ยาวมากครับ เพราะว่าถ้าเราใส่ Meta Description ยาวไป สุดท้าย Google ก็จะตัดออกให้ได้จำนวนแสดงผลที่เหมาะสมอยู่ดี
3. ห้ามสแปมคีย์เวิร์ดเข้าไปใน Meta Description เด็ดขาด
ก็เพราะว่า Google จะมองว่าเรากำลังทำ keyword stuffing หรือ spamming keywords อาจส่งผลให้ Google ลงโทษเราได้
4. ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ๆ
ลองจินตนาการดูว่าเนื้อหาในหน้าเว็บนั้น ๆ เป็นการสอนเนื้อหา SEO ฟรี แต่ถ้าคนคลิกเข้าไปอ่านแล้วไม่พบว่าเป็นอย่างที่อธิบายไว้ใน Meta Description พอคนกดเข้าไปอ่านไม่เป็นไปตามที่หวังก็จะกดออกมาในทันทีทันใดได้ เกิด bounce rate ต่อหน้าเว็บเราสูงขึ้นไปอีก อันเป็นการส่ง signal ต่อ Google ได้เช่นกันว่าเนื้อหาเว็บของเราไม่มีความเกี่ยวข้อง อาจทำให้ Google ลดค่าพลังของเว็บเราได้