เราคงคุ้นเคยกับลิงก์ต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์หรือแอพที่ใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งลิงก์ต่าง ๆ ที่เราคลิกก็คือที่อยู่ของหน้าเว็บเพจเหล่านั้น เราเรียกมันว่า "URL" ในบริบทของ SEO นั้น แน่นอนว่าเราก็ต้องออกแบบ URL ให้เป็นมิตรต่อทั้ง "Search Engine" และ "user"
บทความนี้ผมจะมาแชร์แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices)ในการดีไซน์ URLs ให้ดีต่อ เสิร์ชเอนจินและผู้ใช้งาน พูดง่าย ๆ ก็คือ SEO-friendly URL นั่นเองครับ
URL คืออะไร
URL ย่อมาจาก (Uniform Resource Locator) คือ ลิงก์ที่อยู่ของหน้าเว็บเพจนั้น ๆ โดยจะแต่ละหน้าเว็บก็จะมี URL ที่เฉพาะเจาะจง ไม่เหมือนกัน (Unique) เราสามารถพิมพ์ URL บน Address Bar ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเข้าถึง resource หรือที่อยู่ของหน้าเว็บเพจ ไฟล์เอกสารต่าง ๆ เช่น PDF ที่ host อยู่บนอินเทอร์เน็ตหรือแม้แต่ไฟล์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง
ตัวอย่าง URL ของเว็บ Content Mastery
https://contentmastery.io/
ตัวอย่าง URL ของ PDF ไฟล์ ของเว็บ HubSpot ที่เก็บไฟล์ไว้บนอินเทอร์เน็ต
https://www.hubspot.com/hs-fs/hub/53/file-13221845-pdf/docs/ebooks/introduction-to-seo-ebook.pdf
เมื่อก็อปลิงก์ด้านของ PDF ด้านบนแล้วไปวางบน Google เราจะได้ไฟล์ดังภาพด้านล่าง
จะเห็นได้ว่าแม้แต่ไฟล์ PDF ก็สามารถมี URL ของตัวเองได้
โครงสร้างของ URL
ต่อไปนี้คือโครงสร้างของ URL (URL Structure)
โครงสร้างของ URL (URL Structure)
จาก URL ด้านล่าง
https://contentmastery.io/learn-seo
https://contentmastery.io/learn-seo
โครงสร้าง URLs
- https: คือโพรโตคอล (Protocol)
- contentmastery.io: คือ โดเมนเนม (Domain Name)
- .io คือ TLD (Top Level Domain) ตัวอย่าง TLD ที่เราเห็นได้ทั่วไปเลยก็คือ เช่น .com, .net, .co, .io หรือถ้าของไทยที่เป็นที่นิยมก็เช่น .co.th, .in.th, .th, .ac.th เหล่านี้คือ Top Level Domain ครับ
- learn-seo: คือ Path ของ URL โดยสังเกตง่าย ๆ Path จะต่อท้าย TLD
URL อยู่ตรงไหนบ้าง
เราสามารถสังเกต URL ได้ง่าย ๆ ว่าอยู่ส่วนไหนบ้างดังต่อไปนี้
- Address Bar ของเว็บเบราว์เซอร์
- หน้า SERP ของ Google (หรือหน้าของ Google ตอนที่เรา search หาอะไรบางอย่าง)
- Etc
เราสามารถพิมพ์ใน URL ในช่อง Address Bar ของ web browser เช่น Google Chrome, Firefox, Bing, Safari, etc ได้โดยตรง
URL จะแสดงผลตรงนี้ (Address Bar)
Best Practices ในการออกแบบ URL ให้ดีต่อ SEO
การดีไซน์ URL นั้นเป็นศาสตร์และศิลป์อีกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ ต่อไปนี้คือแนวทางปฏิบัติ (Best Practices) ในการดีไซน์ URL กันครับเพื่อให้ frendly หรือเป็นมิตรต่อ Google มาดูกันว่าเราจะออกแบบกันแบบไหนบ้าง
นี่คือคำแนะนำจาก Google ครับ
"A site's URL structure should be as simple as possible (Google)"
จากด้านบน Google ได้แนะนำว่า URL ควรจะออกแบบให้เรียบง่ายที่สุด
และนี่คือ URL Design Best Practices ครับ
1. URL ควรสั้นและกระชับ
URL ไม่ควรยาวเกินไป ควรสั้นและกระชับดังต่อไปนี้
Good
https://contentmastery.io/url-structure
Good
https://contentmastery.io/blog/url-structure
https://contentmastery.io/what-is-url-how-can-we-design-great-urls-for-our-website-to-gain-more-ctr
2. ใช้ lowercase และ hyphen symbol เท่านั้น
Lowercase (ตัวพิมพ์เล็ก) และ Hyphen เครื่องหมายถ้าพูดภาษาบ้าน ๆ ก็คือเครื่องหมายที่ขีดกลาง (-) คล้าย ๆ เครื่องหมายลบ โดยเราจะไม่ใช้รูปแบบอื่นนอกจาก 2 ส่วนนี้เป็นส่วนประกอบหลักของ URL (จะไม่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะไม่ใช้ตัวเลข จะไม่ใช้ underscore ฯลฯ นอกจาก 2 ตัวนี้)
Good
https://contentmastery.io/blog/url-structure
https://contentmastery.io/blog/url_structure
https://contentmastery.io/blog/URL-Structure
3. อย่า Spam คีย์เวิร์ดใน URL
มีคีย์เวิร์ดเยอะ ๆ ใน URL ยิ่งดี ก็เล่นอัดมันเข้าไปเสียเยอะเลยอย่างเช่น
https://contentmastery.io/url-what-is-how-to-design-url-url-best-practices-url-structure
แบบนี้นอกจากอ่านยาก ไม่เป็นมิตรต่อผู้ใช้แล้วยังมีโอกาสโดน Google ลงโทษแน่นอน4. URL ควรเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น (ไม่ควรใช้ภาษาไทย)
ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นอื่นจริง ๆ เป็นไปได้ควรเลือกใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
Good
https://contentmastery.io/what-is-url
Bad
https://contentmastery.io/url-คืออะไร-ทำไมสำคัญต่อ-seo
https://contentmastery.io/url-%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84-seo/
5. ไม่ควรใส่ Date เข้าไปใน URL
ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นอื่นจริง ๆ ไม่ควรใช้ Date (วันที่) ใน URL ครับ (ยกเว้นเสียแต่ว่าเป็นพวกเว็บข่าวสารต่าง ๆ)
Bad
https://contentmastery.io/2023/03/21/url-structure