หลายคนคงรู้ว่า การทำ SEO นั้นยากขึ้นทุกปี เพราะแต่ละปีคนใช้ internet เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คู่แข่งทางออนไลน์ของเราก็เยอะขึ้นตาม จนกว่าจะถึงจุดที่จำนวนผู้เสิร์ชใน Google นิ่งหรือถึงจุดอิ่มตัว จุดที่ผู้ใช้ไม่มีวันมากไปกว่านี้อีกแล้วการแข่งขันถึงจะเริ่มนิ่ง
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงปัจจัย เช่น Google Algorithm Update ในแต่ละปีที่คนทำ SEO ต้องคอยปรับตัวและหมั่นอัปเดตอยู่สม่ำเสมอ
แต่... ทุกอย่างที่ว่ามา ก็ไม่ได้ยากเหมือนปีนี้ เพราะปีนี้เป็นปีแห่งการมาของ AI Search หรือเหล่า AI Chatbots ต่าง ๆ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนพฤติกรรมการเสิร์ชแบบเดิม ๆ ไปตลอดกาล
ทำไมการทำ SEO ในปี 2024 ยากขึ้นมาก?
ในปี 2024 ความยากมันอยู่ที่
- การมาของ AI Chatbots เช่น ChatGPT, Gemini, Claude เป็นต้น
- คอนเทนต์เต็มไปหมด คู่แข่งเยอะขึ้น
- การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้ไปใช้ AI ในการเสิร์ชอย่าง Perplexity
- SGE และ AI Overview ของ Google แย่ง traffic จาก user เอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในปี 2024 มันไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งอย่างเดียว แต่มันคือ ... พฤติกรรมการเสิร์ชของผู้ใช้ที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนอดที่จะตั้งคำถามไม่ได้จริง ๆ ว่า "Is SEO dead? หรือ SEO กำลังจะตายแล้วจริง ๆ หรือ?" ซึ่งเป็นคำที่เราแทบจะได้ยินทุกปี แต่ปีนี้มันจะยุ่งยากกว่าทุกปี...
#1. การมาของ AI Chatbots
ปฏิเสธไม่ได้ว่า Generative AI คือสิ่งที่มาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเสิร์ชไปอย่างสิ้นเชิง เพราะปัจจุบัน การที่เราจะเสิร์ช intent หรือคีย์เวิร์ดที่ง่าย ๆ เช่น
- x คือ
- y คือ
- z คือ
- something คือ...
อะไรทำนองนี้
ถ้าแบบนี้คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้า Google เพื่อเสิร์ชอีกต่อไปครับ ถ้าหากมันไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือต้องการ ref จริงจัง ที่ต้องการข้อมูลในหลากหลายมิติเพื่อมา backup
เพราะว่าเพียงแค่เข้า AI Chatbots เช่น ChatGPT, Gemini, Claude, etc คือจบ มันจะไปสกัดเอาข้อมูลจาก dataset ของ LLM แต่ละตัวมาสรุปออกมาเป็น the best version
จากปกติแทนที่เราจะต้องใช้เวลาในการคลิกและอ่านข้อมูลจากหลาย ๆ เว็บไซต์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก ถ้าข้อมูลบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้การรีเสิร์ชอะไรมากมาย
ดังนั้นการใช้ AI Chatbot เพื่อเสิร์ชพบว่า มันค่อนข้างแม่นยำ ตรงประเด็นกว่าคนเขียนบทความขึ้นมาเสียอีกครับ ที่สำคัญคือมันได้ข้อมูลที่ไวกว่าหลายเท่า !!
จากตัวอย่างด้านล่าง ผมจะเสิร์ชหาข้อมูลคำว่า "AI คืออะไร"
แล้วลองเปรียบเทียบการเสิร์ชแบบเดิม ๆ ด้วย Google กับการเสิร์ชด้วย AI Chatbot ที่มี LLM อันทรงพลังอยู่เบื้องหลัง เช่น Claude จะเห็นว่าแต่ก่อนไม่มีแบบนี้นะครับ มากสุดก็ Featured Snippet ของ Google เอง
คือถ้าเราเป็นมือใหม่และอยากว่า AI มันหมายความว่าอะไร คำนิยามอะไรทำนองนี้ (โดยที่ยังไม่ต้องอยากรู้เชิงลึกนะ) ก็พิมพ์เสิร์ชหาใน Chatbot ได้เลย สรุปออกมาให้ได้มองเห็นภาพรวมเป็นอย่างดี
แต่ GenAI หรือ Chatbots เหล่านี้อาจจะมีจุดด้อยตรงที่ไม่ได้ ref แหล่งอ้างอิงมา และที่สำคัญหลายตัวข้อมูลไม่ได้เป็นแบบเรียลไทม์ (จะมีขยายความต่อส่วนนี้ข้อล่าง ๆ)
#2. คอนเทนต์เต็มไปหมด คู่แข่งเยอะขึ้น
แต่ก่อนการเขียนบทความ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสักคอนเทนต์ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลา draft วางโครงคอนเทนต์ รีเสิร์ชเนื้อหาที่จะมาเขียน กว่าจะได้แต่ละคอนเทนต์นี่ เล่นเอากินเวลาไปหลายชั่วโมง หรือบางคอนเทนต์เป็นวัน ๆ หรืออาจจะเป็น week เลยก็มี ดังนั้นมันค่อนข้างเป็นงาน craft
ตัวอย่างการใช้ AI Chatbot อย่าง ChatGPT ในการช่วย draft บทความ
แต่ตอนนี้ ... การทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพไม่ต้องใช้ความพยายามมากมายขนาดนั้น เพราะว่าเจ้า AI Chatbots ต่าง ๆ เนี่ยะมันค่อนข้างทรงพลัง เขียนได้ไหลลื่นและเป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์เข้าไปทุกที นี่แค่ขนาดเพิ่งเปิดตัวมาได้ 1-2 ปีเองนะครับที่เทรนด์นี้มา ลองคิดต่อว่าต่อไปนี้พวกมันจะฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ ขนาดไหน
โดยเฉพาะถ้าใครที่มีทักษะการเขียนดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่ามันทำให้เราผลิตงานดี มีคุณภาพได้ไวมากขึ้นหลายเท่าเลยครับ 10x productive ก็คงจะไม่ผิดนัก ซึ่งเราก็ต้องเกลามันให้เป็น the best version
ในสำเนียงการเขียนของเรามากที่สุดครับ
จากตัวอย่าง SEO Tip ด้านบนในการใช้ AI ช่วยเขียนบทความ ก็ตามนั้นเลยแฮะ
ดังนั้นแน่นอนว่าคอนเทนต์เยอะมากขึ้น ผู้ใช้ ลูกค้า มีตัวเลือกมากขึ้น การแข่งขันก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
ปล. อันนี้คือ tip ที่ 47 ของ SEO Tips ใน คอร์สเรียน SEO 2024 ของผมนะครับ แค่ 100 SEO Tips ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นอีบุ๊คย่อม ๆ เล่มหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ
#3. Perplexity ... AI Search ที่กำลังท้าทายเสิร์ชเอนจินอย่าง Google
จากข้อ 2 ที่ผมบอกว่า
"แต่ GenAI หรือ Chatbots เหล่านี้อาจจะมีข้อด้อยตรงที่ไม่ได้ ref แหล่งอ้างอิงมา และที่สำคัญหลายตัวข้อมูลไม่ได้เป็นแบบเรียลไทม์"
ดังนั้นมันจึงมี AI Search อีกตัวเข้ามาปิดจุดด้อยนี้ และผู้เล่นหน้าใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการเสิร์ชของผู้ใช้นี้มีชื่อว่า Perplexity AI หลังจากที่ปล่อยให้ Google dominate ตลาดอยู่นานแสนนาน ก็มีคนมากระตุกหนวดเสือแบบจริง ๆ จัง ๆ เสียที
Perplexity สุดยอด AI Search ที่กำลังจะท้าทายอำนาจของ Google (Image source: devhub.in.th)
และ Google เองก็ประมาทเจ้า AI ตัวนี้ไม่ได้นะครับ เพราะว่ามีนักลงทุนอย่าง Jeff Bezo ซีอีโอของ Amazon รวมไปถึง Nvidia, Databricks รวมไปถึงนักลงทุนและองค์กรระดับโลกอีกมากมาย
โดยการทำงานของ Perplexity ไป scrape ข้อมูลจากเว็บปลายทางมา แล้วสรุปเป็นใจความสำคัญ เนื้อ ๆ เน้น ๆ เท่านั้นไม่พอ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ยังแนบลิงก์ปลายที่มันไปเอาข้อมูลมาให้อีกด้วย แถมยังสามารถ input พวกข้อมูลรูปแบบอื่น เช่น รูปภาพ ไฟล์ ฯลฯ ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าจัดหนักจัดเต็ม Google กันเลยทีเดียว
แต่ Google ก็ยังมีข้อได้เปรียบ Perplexity อยู่บ้าง
สิ่งสำคัญคือ Perplexity จะยืนระยะได้นานแค่ไหนที่จะยอมให้ไม่มี ad ในแพลตฟอร์มของตัวเองเหมือน Google ที่โชว์อยู่เต็มหน้า search result กว่าจะได้ข้อมูลที่ต้องการ ต้องเลื่อนลงไปกลาง ๆ ทำให้สร้าง UX ที่ไม่ค่อยดีนักต่อผู้ใช้
ซึ่งการไม่มี ad เหมือน Google อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ Perplexity ที่ผู้ใช้โอเครกว่า Google แต่ถ้าวันหนึ่งเปลี่ยนไปเพิ่มโมเดลรายได้แบบแปะโฆษณาเหมือน Google ล่ะ? จุดเด่นนี้ก็อาจจะไม่มีอีกต่อไป...
ผมเองคิดว่ายังมีคำถามคำโต ว่าคือสุดท้ายทาง Perplexity จะมีโมเดลหาเงินเพิ่มอย่างไรถ้าไม่อาศัยค่าโฆษณาเป็นโมเดลรายได้อีกทาง ลำพังแค่ค่า subscription แบบ pro เพื่อให้เราเลือกโมเดลได้ คิดว่าจะพอหรือไม่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหันไปเพิ่มโมเดลรายได้จาก ad ซึ่งสุดท้ายจะไม่ใช่สิ่งที่ได้เปรียบ Google ล่ะ
แม้ Perplexity จะมี LLM ของตัวเองอย่าง pplx-70b-online แต่ก็ยังไม่ได้มี performance ที่สูงมากนัก และยังต้องพึ่งพาการใช้ LLMs จากเจ้าอื่นอยู่ เช่น
- GPT-4o ของ OpenAI
- Claude 3 Opus ของ Anthropic
- LLaMa 3 ของ Meta
ดังนั้นการเสิร์ชแต่ละครั้งนั้นด้วย engine ของ LLM ที่รันอยู่เบื้องลึกเบื้องหลังแบบนี้ มี cost สูงกว่าการเสิร์ชแบบ Google ปกตินะครับ ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะทำให้ Google ยังได้เปรียบอยู่ เพราะการเสิร์ชบน Google ฟรี 100%
ดังนั้น Perplexity และ Google ต่างมีข้อดีในแบบของตัวเอง
- ถ้าต้องการคำตอบที่กระชับ ตรงประเด็น แน่นอนครับว่า Perplexity คือตัวเลือกที่ดีกว่า
- แต่หากต้องการข้อมูลอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง เพื่อการวิจัยหรือสำรวจข้อมูล Google ก็ยังเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ อยู่ดี
#4. การมาของ SGE & AI Overview
นอกจาก Perplexity ที่เข้ามาแย่ง traffic แล้ว ทาง Google เองก็ยังมี AI Search ฟีเจอร์เด็ดที่แทบจะเรียกได้ว่าเลียนแบบ Perplexity มาแบบเป๊ะ ๆ (ซึ่งไม่รู้ใครเลียนแบบใครเนอะ แต่ Perplexity น่าจะเป็นคนริเริ่มฟีเจอร์นี้ก่อน)
Google SGE (ที่มา: Google)
ดังนั้น SGE (Search Generative Experience) ซึ่ง Google บอกว่าจะมายกระดับ UX การเสิร์ชของผู้ใช้ แต่สำหรับคนทำ SEO หรือเจ้าของเว็บไซต์บอกได้เลยว่าเหนื่อยแน่นอนครับ เพราะมันอาจจะทำให้ traffic เรา drop ลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมันคือ featured snippet เวอร์ชันที่แสดงข้อมูลยาวกว่าเดิม ทำให้คนเสิร์ชในหลาย ๆ คีย์เวิร์ดได้ข้อมูลครบครันโดยที่อาจจะไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปอ่านลิงก์ที่แนบมา ซึ่งแน่นอน traffic ส่วนนี้เราหายไปแน่ ๆ จะมากหรือน้อยก็รอดูกันอีกทีตอน Google จะเปิดให้ใช้ในไทยหรือทั่วโลกอย่างเป็นทางการครับ
สรุป SEO is dead?
หลายคนน่าจะพอเดาออกแหละว่าผมคงบอกว่า "ไม่" ... SEO จะยังคงอยู่อีกนาน เพราะผู้คนยังจำเป็นต้องใช้เสิร์ชเอนจินในการค้นหาข้อมูลหรือรีเสิร์ชต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลในหลากหลายมิติ เพียงแค่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือรูปแบบในการแสดงผล และพฤติกรรมของผู้ใช้ในการเสิร์ช ซึ่งเราก็ต้องคอยปรับเปลี่ยนและอัปเดตอยู่เสมอ
และที่สำคัญ ลองมองในทางกลับกันถึงแม้การทำ SEO จะยากขึ้น แต่นั่นเท่ากับว่ามูลค่าหรือคุณค่าของ traffic ที่เราได้ก็น่าจะเยอะขึ้นตามใช่ไหมครับ?
ผมชอบคำนี้จากผู้ใช้ท่านหนึ่งใน Reddit ครับในโพสต์ Is SEO dead? ในห้อง r/SEO ประมาณว่า ถ้าผู้คนยังมีความสงสัย ยังไงเสียมันก็ยังมีพื้นที่ให้การทำ SEO อยู่แล้ว เพียงแค่เราต้องปรับตัว การเขียนแค่ blogpost ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว
แล้วคนทำ SEO หรือเจ้าของเว็บจะปรับตัวอย่างไร?
ผมจะไม่ขออธิบายเยอะนะครับส่วนนี้ เพราะคิดว่าน่าจะมีคนเขียนหรือให้ข้อมูลส่วนนี้ไว้บ้างพอสมควรแล้ว แต่อยากจะสกัดออกมาเน้น ๆ เป็นคีย์เวิร์ดดีกว่าครับ ไว้พิจารณากันดูนะครับ
- UX (User Experience)
- Topical Authority
- E-E-A-T
- Quality & Unique Contents
- User-Centric
- Schema Markup
- AEO
มีความคิดเห็นกันอย่างไร สามารถคอมเมนต์หรือแนะนำผมได้เช่นกันนะครับ ยินดีรับคำติชมและคำแนะนำครับ แต่ก็หวังลึก ๆ ว่าบทความนี้จะพอมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ
Have a nice day ครับ
อ้างอิงเพิ่มเติม