รีวิว make.com สุดยอด automation software ที่จะเปลี่ยนชีวิตคนทำงานดิจิทัล


Son contentmastery.io
Updated: Dec. 3, 2024


เบื่อไหมครับกับงานซ้ำซากจำเจที่ต้องทำทุกวัน? ทั้งคัดลอกข้อมูลจาก Gmail ไปใส่ Google Sheets การส่งรายงานประจำวัน หรือการอัพเดทข้อมูลลูกค้า? Make.com (เดิมชื่อ Integromat) อาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังมองหา มาดูกันครับว่าทำไมเครื่องมือ automation ตัวนี้ถึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่คนทำงานสายดิจิทัลและไอที



Make.com คืออะไร? ทำไมถึงน่าสนใจ?

Make.com เป็นแพลตฟอร์ม automation ที่ช่วยให้เราเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ด้วยการออกแบบที่เป็น visual workflow ทำให้ง่ายต่อการสร้างและจัดการ automation


จุดเด่นของ Make.com

1. ใช้งานง่าย

  • Interface แบบ drag and drop
  • Visual workflow ที่เข้าใจง่าย
  • Templates มากมายให้เลือกใช้


2. รองรับแอพยอดนิยม

  • Google Workspace
  • Social Media platforms
  • CRM systems
  • Marketing tools


3. ประสิทธิภาพสูง

  • ทำงานได้เร็ว
  • รองรับข้อมูลจำนวนมาก
  • ประหยัดทรัพยากร


ตัวอย่างการใช้งาน: Gmail to Google Sheets Automation


ขั้นตอนที่ 1: เตรียมพร้อม

1. สมัครบัญชี Make.com


เลือก sign in ได้ตามสะดวก


จากนั้นก็ทำตามสเต็ปไปเรื่อย ๆ


ส่วนนี้ก็คือ Make ต้องการเก็บข้อมูลเพื่อที่จะ personalized การใช้งานของเรา


สำเร็จแล้ว ลองไปที่หน้าแดชบอร์ด จะเห็นว่าได้ฟรี 1,000 operations



จากนั้นไปที่ Templates ซึ่งมีคนสร้างไว้ให้แล้วมากมาย ก็ลองเลือกตัวที่ต้องการได้เลยครับ (หรือจะสร้าง workflow จาก 0 เองก็ได้) โดยใน tutorial นี้จะใช้ตัว Gmail + Google Sheets ในชื่อ "Save a Gmail..."



จะได้ template ที่พร้อมสำหรับการสร้าง workflow ให้ Gmail กับ Google Sheets คุยกันได้แล้วครับ



จากนั้นทำการอนุญาตให้ Make เข้าถึง Gmail เราเพื่อสร้างการเชื่อมต่อ เลือก "Create a connectionและทำตามขั้นตอนการยืนยันบัญชี Google

  • หลังจากสร้างการเชื่อมต่อสำเร็จ ให้ตั้งค่าตัวกรองอีเมล (Filter Type) ตามความต้องการ เช่น ใช้ "Gmail filter" เพื่อค้นหาเฉพาะอีเมลที่เกี่ยวข้องกับคำค้น (Query) เช่น "new order" (ค่า default) หรือคำอื่น ๆ ที่ต้องการ
  • หากต้องการให้ Make ติดตามอีเมลทั้งหมดใน Inbox สามารถปล่อยช่อง Query ว่างไว้ได้เลยครับ (ซึ่งในเคสนี้ก็ปล่อยว่าง) หรือจะใส่ wildcard "*" 



ถ้าหากใช้ Personal Gmail เราจะต้องไป custom ตัว OAuth client ก่อนครับ

Fields ที่ต้องกรอก

  • Connection name: ชื่อการเชื่อมต่อ (สามารถตั้งชื่อได้ตามต้องการ)
  • Client ID และ Client Secret: เป็นข้อมูลที่ต้องสร้างขึ้นจาก Google Cloud Console เพื่อใช้ยืนยันตัวตนของแอปพลิเคชัน


วิธีแก้ไขปัญหา

  • หากใช้งานบัญชี Gmail ส่วนตัว ให้ทำตามคำแนะนำในลิงก์ Connecting to Google Services using custom OAuth client ID เพื่อสร้าง Client ID และ Client Secret บน Google Cloud Console
  • หรือจริง ๆ ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้งานบัญชี Google Workspace ซึ่งไม่มีข้อจำกัดนี้



จากนั้นเมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว ให้ทำการกำหนดค่าตามนี้ จากนั้นกด OK ได้เลย



2. เสร็จขั้นตอนของ Gmail แล้ว จากนั้นเตรียม Google Sheets สำหรับเก็บข้อมูล โดยสร้างชีตเปล่า ๆ ขึ้นมา และกำหนดคอลัมน์ขึ้นมา 3 คอลัมน์ คือ "name, email และ title"



จากนั้นกำหนดค่าในส่วนของโมดูล Google Sheets โดยในส่วนของ Spreedsheet ID เราจะนำ ID จากชีตที่เราสร้างไว้ก่อนหน้า เพื่อให้ Make รู้ว่าเป็นชีตไหน ก็จะแยกด้วย ID นี่แหละครับ

เช่น URL เต็มของชีต

https://docs.google.com/spreadsheets/d/1dO-iMJQVnJpdx5EYtE3kua8a1m3plrPnShM9b5FXxHA
/edit?gid=0#gid=0


จะได้ ID คือ

1dO-iMJQVnJpdx5EYtE3kua8a1m3plrPnShM9b5FXxHA


เสร็จแล้วเลือกฟีลด์ในอีเมลที่เราต้องการ save ลงในชีต (ซึ่ง Make จะมีให้เลือก)



จากนั้นเลือก "Run once" (รันครั้งเดียว) หรือจะรันแบบ Scheduled run (รันแบบตั้งเวลา) ได้ตามต้องการ เป็นอันเสร็จสิ้น

เสร็จแล้วรีเฟรช Google Sheets ดู จะเห็นว่ามีข้อมูลในเมลที่ส่งมาล่าสุดถูกบันทึกเข้าไปในคอลัมน์ของชีตเรียบร้อย



ซึ่งต่อไปเราก็เอาข้อมูลนี้ไปเชื่อมโมดูลอื่นต่อ เช่น เอาไปเชื่อมต่อเพื่อทำการแจ้งเตือน เช่น ผ่าน LINE Notify, Telegram, Slack, Discord ฯลฯ ต่อไป ซึ่ง Make ก็มีรองรับแอพเหล่านี้ครบ!!

เช่น ตัวอย่างใน tutorial นี้ลองเอาไปเชื่อม LINE Notify (ทดสอบเฉย ๆ นะครับ เพราะสะดวกดี แต่เซอร์วิสนี้ของ LINE กำลังจะหยุดให้บริการแล้วนะครับ หาตัวเลือกอื่นที่กล่าวมาด้านบนได้เลย)



เปิดไลน์ดู จะเห็นแจ้งเตือนตามที่ตั้งค่าไว้ใน workflow



นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนแบบง่าย ๆ เท่านั้นเองนะครับ ในการปรับเพื่อใช้งานจริง เราก็สามารถนำไปปรับใช้และสร้างเงื่อนไขในการ trigger และการทำงานได้ตาม use case จริงของแต่ละคนได้เลยครับ แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่า แอพแต่ละตัวสามารถคุย ติดต่อสื่อสารกันได้แล้ว ซึ่งผมหวังว่าเพื่อน ๆ จะได้ไอเดียครับ


Use Cases สำหรับนักการตลาดและ SEO

1. การติดตาม SEO Metrics

  •  ดึงข้อมูลจาก Google Search Console
  •  อัพเดท ranking อัตโนมัติ
  •  สร้างรายงานประจำวัน (Daily Report)


2. Social Media Management

  • Schedule posts อัตโนมัติ
  • ติดตาม brand/web mentions
  • รวบรวม analytics


3. Lead Management

  • บันทึกข้อมูลลูกค้าอัตโนมัติ
  • แจ้งเตือนทีมขาย
  • อัพเดทสถานะ


Pricing

ราคาและแผนการใช้งานของ Make


pricing ของ make.com โดยมี free plan ให้ทดลองใช้


ข้อดีและข้อควรพิจารณา

ข้อดี

  1. ประหยัดเวลาทำงาน
  2. ลดความผิดพลาดจากการทำงานแบบ manual
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน


ข้อควรพิจารณา

  1. ต้องใช้เวลาเรียนรู้ระบบ
  2. แพ็คเกจฟรีมีข้อจำกัด (ให้จำนวน operations มาไม่มาก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่นต้นเนอะ)
  3. บาง integration ต้องใช้แบบ paid plan


เทคนิคการใช้งาน Make.com ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การใช้งาน Make.com ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น มีเทคนิคสำคัญที่เราควรทราบ โดยเริ่มจากการใช้ templates ที่มีมาให้อยู่แล้วมากมาย ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและไม่ต้องเริ่มสร้าง automation จาก 0

เพื่อน ๆ สามารถศึกษาการทำงานของ templates เหล่านี้และ custom ให้เข้ากับความต้องการของเราได้ พร้อมทั้งหมั่นตรวจสอบ error logs และสำรองข้อมูลสำคัญไว้เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ การ optimize การใช้งานก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการจัดการ operations ให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้ใช้ operations หมดเร็วเกินไป รวมถึงการใช้ filters เพื่อกรองเฉพาะงานที่จำเป็น และการ monitor การทำงานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ automation ของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


Make vs N8N vs Zapier: เปรียบเทียบยักษ์ใหญ่ด้าน Automation

จริง ๆ แล้ว automation software ไม่ได้มีแค่ Make ครับ ยังมีอีก 2 คู่แข่งสำคัญอย่าง Zapier และ N8N เรามาดูเพิ่มเติมนิดว่า ตัวไหนเป็นอย่างไรบ้าง (แบบรวม ๆ)

ด้านการใช้งานและการติดตั้ง

Make.com

  • Cloud-based ใช้งานผ่านเว็บได้ทันที
  • Interface สวยงาม ใช้งานง่าย
  • เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไปและองค์กร

N8N 

  • Open-source สามารถติดตั้งบน server ส่วนตัวได้ (self-host ได้ อันนี้คือแจ่มมากกกก)
  • มี cloud version ให้เลือกใช้เช่นกัน
  • เหมาะกับองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง มีทีม Technical หรือ IT ของตัวเอง
N8N คืออีกตัวที่เป็นทีเด็ดเลยครับ เพราะเราสามารถ custom โดยเขียน script ของภาษาโปรแกรมมิ่ง เช่น JavaScript หรือ Python เข้าไปได้ ทำให้มันค่อนข้างยืดหยุ่นและทำอะไรได้เยอะตามที่เราต้องการมาก ๆ สำหรับเพื่อน ๆ ที่เข้าเรียน Complete Web Marketing & Technical SEO กับผม จะสามารถเข้าใจและใช้ตัว N8N ได้อย่างราบรื่นแน่นอนครับ


Zapier

  • Cloud-based เจ้าแรกในตลาด
  • Interface แบบ step-by-step
  • เหมาะกับผู้เริ่มต้นและ SMEs


N8N คู่แข่งสำคัญของ Make


สรุป

Make.com เป็นเครื่องมือ automation ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่ายเลยครับ (และค่อนข้างมาแรงเลยในตอนนี้) เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการ automate งานที่เราต้องทำแบบซ้ำ ๆ ให้กลายเป็นการทำงานอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้ประหยัดเวลา เอาเวลาอันมีค่าของเราไปทำอย่างอื่นเพิ่มเติม

ถ้าเพื่อน ๆ ต้องการเข้าใจและใช้ Make ได้แบบมั่นใจมากขึ้น การเข้าใจการทำงานของ Web Technology รวมถึง API ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็น ในคลาส 📒 Complete Web Marketing & Technical SEO ... ที่เรากำลังเปิดรับตอนนี้ จะทำให้เราต่อยอดไปใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ต้องการความรู้ด้าน Web & Technical ได้อย่างไหลลื่นมากยิ่งขึ้นครับ
Son contentmastery.io
Son contentmastery.io

ที่ปรึกษาด้าน Web & SEO สำหรับองค์กรและเจ้าของธุรกิจ ชอบเขียนและแชร์ความรู้ เชื่อว่าความรู้คือสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดและจะติดตัวเราไปในทุกที่ ให้อะไรก็คงไม่เท่าให้ความรู้ หลงไหลในธรรมชาติและการเดินทาง เป็นพ่อของแงว ๆ อยู่หลายตัว เสพติดกาแฟ อเมริกาโน่


อัพสกิล SEO & Web Marketing?

ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เรียน SEO ด้วยแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) สอนครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้าน On-Page, Technical, Web Analytics & Report ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนไปต่อยอดกับเว็บไซต์ธุรกิจของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับองค์กร บริษัทต่าง ๆ