ส่องกลยุทธ์ SEO ดัน Thai Food Near Me ร้านอาหารไทยไวรัลในนิวยอร์ก


Son contentmastery.io
Updated: Nov. 20, 2024


อีกหนึ่ง viral ในวงการ SEO เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2023 ร้านอาหารไทยในนครนิวยอร์ก สหรัฐ ฯ ได้ใช้ชื่อนี้ติดป้ายหน้าร้าน "Thai Food Near Me"  ทำให้ viral ไปทั่วโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว เป็นที่ฮือฮาไปทั่วทั้งวงการ 

จากภาพนี้ ก็เป็น viral บน Reddit มีคนถูกใจมากกว่า 100,000 และคอมเมนต์กว่า 1,300 คอมเมนต์


Viral ใน Reddit 


และ viral นี้บนทวิตเตอร์ (X) มียอดวิวกว่า 2.9 ล้านวิว รีทวีตกว่า 8,964 ครั้ง ถูกใจเกือบ 60,000 ครั้ง!


Viral ในทวิตเตอร์ (X)


แน่นอนครับว่า หลังจากนั้นไม่นานทำให้ร้านอาหารไทยสุด creative ร้านนี้เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว โดยร้านอาหารใช้โดเมนเนมชื่อ "thaifoodmearmenyc.com" โดยใช้เป็นทั้งชื่อแบรนด์และโดเมนเนม (เพิ่มแค่ nyc เข้าไปส่วนท้าย เพื่อบ่งบอกว่าอยู่ในนิวยอร์ก) 

Note: เพื่อไม่ให้มองว่าเป็นการสแปมคีย์เวิร์ดเกินไปในบทความนี้ ผมจะขอใช้แทนชื่อร้าน Thai Food Near Me เป็นตัวย่อว่า TFNM แทนนะครับ


ทำไม SEO กลยุทธ์ "Near me" ยังใช้ได้?

ขอเท้าความก่อนนิดนึงครับ สำหรับแนวทางการทำ SEO ด้วยคีย์เวิร์ดอย่าง 'ใกล้ฉัน' (ภาษาไทย) หรือ "Near me" (ภาษาอังกฤษ)  หรือ near + [LOCATION] ยังคงมีความสำคัญสำหรับ Local Business ซึ่งสอดคล้องกันกับแนวทางการทำ Local SEO เพราะว่าคนส่วนใหญ่เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยว ค้นหาร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือบริการต่าง ๆ ที่มีหน้าร้านจริง ๆ ก็มักจะเสิร์ชหาด้วยคีย์เวิร์ดประมาณนี้เป็นส่วนใหญ่

คาเฟ่ ใกล้ฉัน
ร้านอาหาร ใกล้ฉัน
ร้านนั่งชิวใกล้ฉัน
ลาบยโส ใกล้ฉัน (น้ำลายไหลเลยครับ 555)

Cafe near me
Restaurants near me
bla bla bla ...


นี่เรียกได้ว่าเป็นคีย์เวิร์ดที่คนเสิร์ชพร้อมที่จะเดินทางไปสถานที่นั้น ๆ เพื่อใช้บริการในขณะนั้นเลยก็ว่าได้ครับ 

จากภาพด้านล่างคือผลศึกษา Local SEO จาก Backlinko พบว่า

ผู้ใช้งานมือถือ ตัดสินใจติดต่อหรือเดินทางไปยังธุรกิจนั้นทันทีหลังการค้นหา

Image source: Backlinko


และการที่เสิร์ชเอนจินอย่าง Google จะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดเหล่านี้มาแสดง ประกอบไปด้วยปัจจัยหลัก ๆ 3 ปัจจัยหลัก ๆ คือ 

  1. ความเกี่ยวข้อง (Relevance)
  2. ระยะทาง (Distance)
  3. ชื่อเสียงของร้านหรือสถานที่นั้น ๆ (Authority) เช่น มาจากการรีวิว จาก backlinks เป็นต้น
Note: และที่สำคัญเพื่อน ๆ ต้องสร้างโปรไฟล์ Google Business Profile (GBP) ด้วยครับ ธุรกิจของเราถึงจะแสดงผล (ซึ่งจะขอพูดถึงแบบละเอียดในบทความ Local SEO เนอะ)


ถ้าพิจารณาตาม 3 ปัจจัยด้านบนที่ว่ามา จะพบว่า TFNM ขาดปัจจัยสำคัญอีกตัวก็คือ "ระยะทาง (Distance)" (หรือจะหมายถึง Location ก็ได้เช่นกัน)

เพราะถ้าเพื่อน ๆ ลองเสิร์ชคำว่า "Thai food near me" อยู่ที่กรุงเทพ ฯ จะไม่มีทางเห็นร้านนี้แสดงผลเลยในหน้า Search Result ที่แสดงผลในรูปแบบ Google Maps Pack หรือ Local Pack จำนวน 3 ผลการค้นหาอย่างแน่นอน ดังภาพด้านล่างที่เราคุ้นเคยกันดีเมื่อค้นหาสถานที่ ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ

จากภาพด้านล่าง สมมติว่าตอนนี้ผมเดินทางมาที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วลองเสิร์ชด้วยข้อความด้านล่าง


ผลการค้นหาแบบ Google Maps Pack สำหรับ Local Search


เช่นเดียวกัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปภูเก็ต เวลาเสิร์ชด้วย "Thai food near me"  ก็จะเจอร้านอาหารไทยในภูเก็ตที่อยู่ใกล้เคียง เสิร์ชในเชียงใหม่ กรุงเทพ ปารีส ลอนดอน ฯลฯ ก็จะเจอร้านอาหารไทยที่อยู่ใกล้โลเคชันเหล่านั้น โดยร้าน TFNM จะไม่ได้ปรากฎบนหน้าผลลัพธ์การค้นหาด้านบนสุดแบบ Local Pack


แต่ถ้าลองเลื่อนลงไปด้านล่างล่ะ? จะพบว่าเว็บไซต์ของ TFNM นั้นแสดงผลนะครับ เอาล่ะสิ เฮ้ยมาว่ะ!!


ติดหน้าแรกด้วยเด้อ


เอาแล้วไง ลองเช็ค traffic คนเข้าเว็บดูด้วย Ahrefs Traffic Checker


ลองเช็ค traffic ใน Ahrefs Traffic Checker



อันนี้ต้องบอกก่อนครับว่าเป็นการเช็คแบบหยาบ ๆ ไม่ได้ละเอียด แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้มองเห็นภาพ

  • คำว่า "thai food near me" เอาเฉพาะใน USA มีคนเสิร์ชกว่า 575,000 ครั้ง (575k) เรียกได้ว่าเป็นคีย์เวิร์ดที่มีคนเสิร์ชหาสูงมาก (High Search Volume) และมีโอกาสเป็น Transactional หรือไม่ก็ Commercial Keyword ค่อนข้างสูง ที่คนพร้อมจะจ่ายเงินหรือพร้อมซื้อเมื่อเสิร์ชคำ ๆ นี้ เพราะว่าคนค้นหา "ร้านอาหารใกล้ฉัน" ก็คือคนที่พร้อมหรือต้องการจะไปรับประทานอาหารแล้วใช่ไหมครับ เงินพร้อมที่จะออกกระเป๋าแล้วนะไรงี้ พูดง่าย ๆ นี่คือคีย์เวิร์ดที่พร้อมทำเงินเลยก็ว่าได้ (ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้ในบทความ Keyword Research) โดยขอคนคลิกสัก 1% มันก็เยอะมาก ๆ แล้ว
  • กราฟแสดงผล Organic Traffic (คนเสิร์ชผ่าน Google) ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ที่ผ่านมาพุ่งแบบก้าวกระโดดจนไปแตะที่ 12,000+ คนเข้าเว็บต่อเดือน เป็นตัวบ่งบอกว่าเว็บไซต์ได้ติดคีย์เวิร์ดนี้เรียบร้อย (จะไม่ติดได้ไงก็เล่น viral ขนาดนั้น Social Signal จัดเต็มให้ Google อย่างไม่ต้องสงสัย haha) 


แต่ก็มีข้อเสีย...

อ่านมาถึงตรงนี้ก็ใช่ว่ากลยุทธ์นี้จะใช้ได้ดีเสมอไปครับ สำหรับการใช้ชื่อแบรนด์และเว็บด้วย Super exact match keywords ตรง ๆ แบบนี้ มีได้ ก็ย่อมมีเสีย (มันคือ Trade-off นั่นเอง) ซึ่งข้อเสียที่ชัดเจน คือ

  1. Non-Branded Keyword: ลองคิดดูเล่น ๆ ว่า นี่เป็นชื่อแบรนด์ที่ไม่ unique และทำให้สร้างแบรนด์ได้ยาก (หรือไม่?) ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ถ้าคนเสิร์ช YouTube, Tesla, Apple, Netflix, Airbnb, etc ก็ชัดเจนว่าหมายถึงแบรนด์เหล่านี้ เพราะว่าเป็น Branded Keywords  แต่ถ้าเสิร์ช "Thai food near me" แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าผู้ใช้จะหมายถึงร้านอาหาร TFNM หรือไม่? ก็ไม่ เพราะว่า Search Intent อันนี้คือคนเสิร์ชต้องการค้นหาร้านอาหารใกล้เคียงพวกเขาในขณะนั้น ไม่ได้ต้องการจะค้นหาร้าน TFNM และถ้าจะสร้างแบรนด์ด้วยชื่อนี้ จะทำได้อย่างไร? 
  2. ดูคล้าย Click-bait: อาจจะทำให้คนที่เสิร์ชเข้าใจผิดได้ว่าเป็นร้านอาหารไทยที่อยู่ใกล้จริง ๆ แต่พอคลิกเข้าไป โอ้วววอยู่นิวยอร์ก Oh no.... คลิกออกมา ส่งผลให้ค่า Bounce Rate (คลิกเข้าเว็บแล้วออก) สูงได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อ SEO ในระยะยาว 

และที่สำคัญ Google มีอัลกอริทึมที่ฉลาดมากเพียงพอที่จะแยกออกว่าผู้คนกำลังค้นหาคำ ๆ นั้นและต้องการผลลัพธ์แบบไหน

ลองจินตนาการดูว่าถ้าคนหันมาใช้กลยุทธ์การตั้งชื่อประมาณนี้แล้วได้ผลกันไปตาม ๆ กัน เช่น dentistsnearme, petshopnearme, ร้านลาบยโสใกล้ฉัน, etc bla bla ...

ก็คงจะทำให้ Google เป็นเสิร์ชเอนจินที่ไม่มีประสิทธิภาพและพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป (เพราะคนเสิร์ชได้สิ่งที่ไม่ตรงปก) ดังนั้น Google ย่อมต้องรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจตัวเองไว้ให้ดีที่สุดอยู่แล้วใช่ไหมครับ นั่นก็คือการปรับปรุงพัฒนาอัลกอริทึมเสิร์ชเอนจินให้มีประสิทธิภาพสูงอยู่ตลอดเวลา

สรุป

ถ้าพิจารณาผลลัพธ์จากเคสนี้ของ TFNM นั้น ต้องบอกเลยว่า "ได้ผล" และประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะว่าชื่อร้านก็ติดหูและเป็นที่รู้จักในวงกว้างไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งก็ยินดีด้วยจากใจจริงครับอันนี้สำหรับผู้ประกอบการอาหารของไทยเราที่ไปทำมาค้าขาย สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในอเมริกา

แต่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจที่คิดจะใช้กลยุทธ์นี้ อาจจะไม่ได้เกิดไวรัลหรือโชคดีแบบนี้เสมอไป หรือมีก็ส่วนน้อย คงต้องคิดให้รอบด้านว่ามีผลดีมากกว่าผลเสียไหม เช่น ทำให้สร้างแบรนด์ได้ยากขึ้น โดยต้องถามตัวเองว่า "คุ้มหรือไม่ ?" ดังนั้นถ้าเป็นเคสทั่วไป ส่วนตัวแล้ว "ไม่แนะนำครับ"

ขอให้เป็นวันที่ดีและขอบคุณที่อ่านจนจบครับ 

Son contentmastery.io
Son contentmastery.io

ที่ปรึกษาด้าน Web & SEO สำหรับองค์กรและเจ้าของธุรกิจ ชอบเขียนและแชร์ความรู้ เชื่อว่าความรู้คือสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดและจะติดตัวเราไปในทุกที่ ให้อะไรก็คงไม่เท่าให้ความรู้ หลงไหลในธรรมชาติและการเดินทาง เป็นพ่อของแงว ๆ อยู่หลายตัว เสพติดกาแฟ อเมริกาโน่


อัพสกิล SEO & Web Marketing?

ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เรียน SEO ด้วยแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) สอนครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้าน On-Page, Technical, Web Analytics & Report ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนไปต่อยอดกับเว็บไซต์ธุรกิจของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับองค์กร บริษัทต่าง ๆ