ย้อนกลับไปช่วงประมาณกว่า 3 ปีที่แล้ว เป็นช่วงที่เริ่มต้นเว็บ Content Mastery แรก ๆ
ก็เป็นเรื่องปกติใช่ไหมครับเวลาที่เราจะสร้างเพจหรือสร้างแบรนด์อะไรสักอย่างขึ้นมา และแน่นอนว่าก็ต้องมีการคิดชื่อแบรนด์ก่อน
ผมก็คิดไปคิดมาจนได้ชื่อว่า "Content Mastery" (ประมาณว่าผู้เชี่ยวชาญด้านคอนเทนต์อะไรทำนองนี้) และสุดท้ายก็ต้องมีการจดโดเมนให้ได้ชื่อเดียวกันหรือใกล้เคียงกันสุดอย่าง contentmastery.io (ใช้ TLD เป็น .io)
และแนวทางเว็บก็เป็นไปตามชื่อโดเมนเป๊ะ
ๆ มีการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ แบบยับ ๆ เช่น การยิงแอดบน
Facebook และแน่นอนที่ขาดไม่ได้ก็คือเกี่ยวกับ SEO
แต่พอทำไปทำมาสักพัก ก็เริ่มรู้สึกว่า เราจะทำคอนเทนต์ไหวรึหลายหัวข้อแบบนี้ ทั้ง
- การทำ SEO
- การยิงแอดบน Facebook
- และคอนเทนต์การตลาดอื่น ๆ ประปรายอีกบ้าง
Note: เหตุผลที่เลือกทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับการยิงแอด Facebook เพราะเห็นว่ามันค่อนข้าง mass และมี potential ค่อนข้างเยอะ ทั้งลองเทียบดูคลิปใน YouTube ที่เกี่ยวกับ SEO และยิงแอด Facebook ตัวที่เป็น SEO คนดูหลักร้อยหลักพัน ส่วนเกี่ยวกับยิงแอด FB คือตัวพีค ๆ คนดูเป็นหลักแสนเลย เกือบล้านก็มี คือพูดง่าย ๆ มีโอกาสได้ลูกค้าเยอะกว่าเห็น ๆ
เคยทำคอนเทนต์ทั้งที่เกี่ยวข้องกับ Facebook และ TikTok
เนื้อหาก็สมกับชื่อเว็บแหละตอนนั้น คอนเทนต์ทุกแพลตฟอร์มจริงจัง
แต่คิดไปคิดมา
(อาจจะบวกด้วยการทำคอนเทนต์ FB ads แล้วไม่ปังด้วยมั้ง)
จึงได้ขจัดความโลภของตัวเองออก สุดท้ายก็เลยคิดว่าคงทำไม่ไหว
ทั้งหัวข้อในการทำคอนเทนต์ที่ดูกว้างเกินไป
เวลาและรีซอร์สที่จะลงไปทำคงไม่พอ
และอาจจะได้คอนเทนต์ที่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรจะเป็น นำมาซึ่งคนจะจดจำเราไม่ได้
ดังนั้นผมจึงตัดสินใจตัดพวก Facebook ads หรือคอนเทนต์จิปาถะอื่น ๆ ออกทั้งหมด เหลือไว้แค่เพียง SEO
ความผิดพลาดในการตั้งชื่อแบรนด์และโดเมนเนม
คือคำว่า
Content Mastery ฟังดูก็เหมือนจะดูโอเคร เพราะมันมีคีย์เวิร์ดเช่น
content อยู่ในนั้น แต่ที่จริงแล้วมันเป็นชื่อที่ ไม่ unique
(ไม่เฉพาะเจาะจง) ไม่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเลย แถม content ก็คือ
content อะไรล่ะ คนจะรู้ไหม?
ลองจินตนาการว่าถ้าเพื่อน ๆ ไม่ได้รู้จัก Content Mastery มาก่อน คงคิดว่าเว็บหรือแบรนด์นี้คงเกี่ยวกับการเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำคอนเทนต์หรือไม่นะ ซึ่งอันนี้แค่ตัวแบรนด์เองมันก็ค่อนข้างสื่อสารผิดพลาดแล้ว สู้ไปตั้งคีย์ seo keyword ในโดเมนตรง ๆ เลยไม่ดีกว่าหรือ เช่น seomastery อะไรแบบนี้
จากสิ่งนี้นี่เองทำให้ผมคิดได้ว่า
เฮ้ยถ้านายจะเน้นแบรนดิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีคีย์เวิร์ดในโดเมนก็ได้เว้ย
ดูตัวอย่างง่าย ๆ ชัด ๆ เลยคือ Google, Adidas, TikTok อะไรพวกนี้
จะเห็นว่าพอคนพูดถึงชื่อเหล่านี้ เพื่อน ๆ
คงรู้ทันทีเลยใช่ไหมครับว่าหมายถึงอะไร
นี่แหละครับ
สิ่งที่ผมได้ตระหนักโดยแท้ว่า การตั้งชื่อแบรนด์ ถ้าเราคิดจะรันเว็บยาว ๆ
ไม่อยากปวดหัวกับการรีแบรนด์หรือเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่
ควรจะทำให้ชื่อมันเฉพาะเจาะจงตั้งแต่แรกเลย คือควรทำให้มันถูกต้องตั้งแต่
day 1 (ถ้าเป็นไปได้)
แล้วเกี่ยวกับ Sitelink ยังไง?
จากประสบการณ์ที่ทำเว็บมาหลากหลายเว็บไซต์ เว็บที่ตั้งชื่อแบบไม่ซ้ำคนอื่นหรือ unique ไปเลย มันจะทำให้พอเวลาเราเสิร์ชใน Google (โดยเฉพาะเสิร์ชด้วยชื่อแบรนด์ตรง ๆ) มันจะ ขึ้น Sitelink ได้ไวกว่าครับ (แต่เว็บเราต้องมีโครงสร้างที่ดี มีคนเข้าพอประมาณนึงด้วย) แล้วการที่มี Sitelink ขึ้นมานี่เองผมว่ามันทำให้เว็บเราดูน่าเชื่อถือขึ้นมาอีกระดับนึงอยู่ครับ เหมือน Google การันตีให้กลาย ๆ ว่าเว็บนี้มีตัวตน มีความสำคัญนะ อะไรทำนองนี้ (หรือเพื่อน ๆ คิดว่าอย่างไรครับ?)
ซึ่งเรื่องนี้
ไม่ใช่แค่ผมคิดไปเอง มีข้อมูลและแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO หลายคน
รวมไปถึงแนวปฏิบัติของ Google เองที่บอกไปในทิศทางเดียวกันครับ
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า
Google จะแสดง Sitelinks โดยอัตโนมัติ เมื่ออัลกอริทึมของ Google
มองว่ามันมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคนค้นหา
ชื่อแบรนด์หรือชื่อเว็บไซต์ของเราโดยตรง (ที่เราเรียกว่า Navigational
Queries)
ทีนี้... ความ unique หรือความเฉพาะเจาะจงของชื่อแบรนด์
มันเข้ามาเกี่ยวข้องตรงนี้แหละ ถ้าชื่อแบรนด์เรามัน unique มาก ๆ ไม่ซ้ำใคร
แบบที่พอคนเสิร์ชชื่อนี้ Google รู้ทันทีเลยว่า "อ๋อ
เขากำลังหาเว็บนี้/แบรนด์นี้" มันก็จะง่ายสำหรับ Google ที่จะแสดง
Sitelinks ขึ้นมาสำหรับคำค้นหานั้น ๆ
เพราะมันชัดเจนว่าผู้ใช้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เราโดยตรง (แถมยังวัดผลได้ง่ายว่าคนเสิร์ชด้วยชื่อแบรนด์ของเรามาจริง ๆ) บวกกับโครงสร้างเว็บที่ทำไว้โอเคร และมี traffic เข้าพอประมาณ และความ
mature ของเว็บที่รันมาแล้วสักพักใหญ่ ๆ (อาจจะปีหรือสองปี แล้วแต่เว็บ)
มันก็จึงไม่มีอะไรมาขัดขวางที่จะไม่ให้เกิด Sitelink ใช่ไหมครับ
ผมจะขออนุญาตยกตัวอย่างสักเว็บ เช่น ในวงการ SEO นี้เลยละกัน เว็บแรก ๆ ที่หลายคนคงจะนึกถึงเกี่ยวกับเอเจนซี่ด้านนี้ เช่น Primal (ขออนุญาต Primal ด้วยละกันนะครับ เดี๋ยวผมให้ backlink กลับไปล่ะกันเนอะ)
เห็นไหมครับว่า Primal เว็บ SEO ชื่อดัง ก็ยัง Sitelink ไม่ขึ้น ทั้ง ๆ ที่เว็บนี้มีค่า authority ในด้านนี้ค่อนข้างสูง ก็เพราะว่าชื่อแบรนด์หรือโดเมนเนมไม่ Unique นั่นเองครับ ไปซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงอยู่ก่อนหน้าแล้ว ซึ่งตามภาพก็คือซีรี่ย์ชื่อดังชื่อ Primal
กลับมาที่เว็บเรา ถ้าชื่อแบรนด์เรามันมีความหมายกว้าง ๆ หรือเป็นคำทั่วไป (Generic)
อย่างเคส "Content Mastery" ของผมนี่แหละ Google อาจจะสับสนได้ว่า
คนที่เสิร์ชคำนี้ เขากำลังหาแบรนด์ผมจริง ๆ หรือแค่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ "การทำคอนเทนต์ให้เชี่ยวชาญ" กันแน่?
ซึ่งความไม่ชัดเจนตรงนี้แหละครับ ที่อาจจะทำให้ Sitelinks สำหรับชื่อแบรนด์เรามันขึ้นยากขึ้น หรือขึ้นช้ากว่าเว็บที่มีชื่อเฉพาะเจาะจงไปเลย (เอาจริง ๆ ส่วนตัวคิดว่า ถ้าผมตั้งชื่อ domain name ให้ unique กว่าเดิม ไม่ซ้ำคีย์อื่น Sitelink ของเว็บควรจะขึ้นมาสักพักแล้วครับ)
และก็ยังดีอยู่ครับ ที่ตอนนี้ขึ้นมาแล้ว (ทั้งที่ควรจะขึ้นก่อนหน้าสักพักใหญ่ ๆ)
แต่ก่อนไม่ขึ้น มันก็ดูไม่น่าเชื่อถือ (หรือตรูคิดไปเองหว่า lol)
อย่างใน Google
Search Central เองก็เคยให้แนวทางไว้ประมาณว่า Sitelinks จะแสดงเมื่อ
Google คิดว่ามันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
และระบบจะวิเคราะห์โครงสร้างลิงก์ของเว็บไซต์เพื่อหาทางลัดที่จะช่วยประหยัดเวลาให้ผู้ใช้
ซึ่งการที่ชื่อแบรนด์เรามันชัดเจน ไม่กำกวม มันก็ช่วยให้ Google
กำหนดทางลัด (shortcut) ที่เกี่ยวกับแบรนด์เราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง (พวกเว็บโครงสร้างดี ๆ
มี Internal Link ชัดเจน ก็ช่วยตรงนี้ได้ด้วยเช่นกัน)
ดังนั้น การมีชื่อแบรนด์และโดเมนเนมที่ไม่เหมือนใคร มันจึงเป็นปัจจัยสำคัญทางอ้อมที่ช่วยให้ Google แสดงผล Sitelinks สำหรับชื่อแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นจริง ๆ ครับ ซึ่งก็ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือให้เว็บเราไปอีกขั้นอย่างที่ผมบอกไปตอนแรก
ในเรื่องผิดพลาดก็ยังพอดีเรื่องที่โอเครอยู่
แต่ถึงชื่อแบรนด์ Content Mastery อาจจะไม่ unique เท่าไหร่
แต่ก็ยังมีจุดที่ผมคิดว่าตัดสินใจได้ค่อนข้างโอเคอยู่นะครับ
นั่นคือการเลือกใช้ TLD (Top-Level Domain) เป็น .io
คืออย่างที่หลายคนในสายเทคฯ
ทราบกันดีว่า .io มักจะถูกเชื่อมโยงกับความเป็น Tech, Startup
หรืออะไรที่เกี่ยวกับ Input/Output ซึ่งมันบังเอิญไปสอดคล้อง
กับทิศทางที่ผมโฟกัสในเวลาต่อมาพอดีครับ
เพราะผมไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่คนทำคอนเทนต์ SEO แบบ Marketing จ๋า ๆ เพียว ๆ
แต่มองไปถึง Web Marketing ในภาพรวม
โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้สกิลด้าน
Web Dev เข้ากับงาน SEO ด้วย ดังนั้นการใช้ .io
มันเลยค่อนข้างจะสื่อสารความเป็น Tech ในตัวตนของแบรนด์ออกไปได้ดีกว่าการใช้ .com ที่ดูจะ Commercial ทั่วไป
เพราะเอาจริง
ๆ การทำ SEO ยุคนี้ โดยเฉพาะสาย Technical SEO หรือ Web Marketing ที่ผมเน้น
มันหนีไม่พ้นเรื่องโค้ดดิ้ง เรื่องโครงสร้างเว็บ เรื่อง Performance
Optimization หรือแม้กระทั่งการเขียน script เพื่อทำ automation ต่าง ๆ
ซึ่งสกิล Web Dev มันเข้ามาช่วยตรงนี้ได้เยอะมาก ทำให้การใช้ .io
มันเหมือนเป็นการส่งสัญญาณกลาย ๆ
ให้กับคนที่อยู่ในวงการหรือคนที่สนใจเรื่อง Technical ลึก ๆ ได้เห็นว่า
เออเว็บนี้มันมีอะไรมากกว่าแค่บทความหรือสายคอนเทนต์ทั่วไปนะ ดังนั้นการที่ผมจะขยาย service เช่น ไปรับทำพวก automation เกี่ยวกับ SEO ก็ค่อนข้างสอดคล้องกับ TLD
บทเรียนที่ได้จากเรื่องนี้คือ
ถ้าเราไม่ได้มีรีซอร์สเยอะ อย่าทำเว็บจับฉ่าย จงเลือก master
ทางใดทางหนึ่งเพื่อเป็น expert ในด้านนั้น ๆ
เพราะมันจะได้สอดคล้องทั้งเรื่องแบรนดิ้ง รวมไปถึง EEAT ของ SEO
และบทเรียนสำคัญอีกข้อก็คือ 'ชื่อแบรนด์' สำคัญ เลือกให้ดี
เลือกให้ชัด เลือกให้ unique ตั้งแต่ day 1
จะช่วยให้การสร้างแบรนด์ของเราในระยะยาวราบรื่นขึ้นเยอะเลยครับ
ถ้าตกหล่นหรือผิดพลาดประการใดต้องขออภัยครับ แชร์หรือแนะนำกันเข้ามาได้ ยินดีรับฟีดแบ็คครับ