Meta Title เป็นแท็กที่หลายคนคงคุ้นเคยกันดี แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร หน้าตาโครงสร้างเป็นยังไง และมีความสำคัญต่อ การทำ SEO มากขนาดไหน บทความนี้จะมาอธิบายทำความเข้าใจและแนะนำวิธีการเขียน Meta Title ด้วยแนวทางที่ดีที่สุด ให้เพื่อน ๆ นำไปปรับใช้กันได้ทันทีครับ
Note: เพื่อป้องกันความสับสน ดังนั้นคำว่า Meta Title, Title Tag, Title ในบทความนี้ ทั้ง 3 ตัวถือว่าเป็นตัวเดียวกันนะครับ
Meta Title คืออะไร ?
Meta Title คือ HTML Tag ในหน้าเว็บเพจ โดยแต่ละหน้าก็จะมี Title ของใครของมัน ซึ่ง Title นี่แหละจะเป็นตัวบอกให้ทั้ง User และ Search Engine ทราบว่าหน้าเว็บหน้านั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับอะไร เปรียบเสมือนชื่อเรื่องของหน้าเว็บเพจนั้น ๆ โดยจะเป็นชื่อที่ไปแสดงบนหน้า SERP ของ Google
ตัวอย่าง Meta Title ที่แสดงผลบนหน้า SERP
ตัวอย่าง Title Tag แสดงผลบน Browser Tab ในหน้าคอร์สเรียน SEO 101
โค้ด HTML ของ Meta Title tag
<head>
<title>Content Mastery - SEO & Web consultant based in Bangkok Thailand</title>
</head>
ลอง inspect ดูโค้ดของหน้าเว็บ
ทดสอบดูโด้ด HTML หน้า homepage ของ Content Mastery
ทำไม Meta Title ถึงมีความสำคัญ ?
Meta Title มีความสำคัญต่อ SEO ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในส่วนของ On-Page SEO เมื่อมีคนเสิร์ชบน Google ส่วนแรกที่คนค้นหาจะเจอได้โดดเด่นและชัดเจนที่สุดเลยก็คือ Meta Title นี่แหละครับ ดังชื่อบทความนี้ก็คงไม่เกินจริง
ตัวอย่างเช่นการแชร์ไปบนโซเชียล เช่น Facebook
Title ที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดให้คนคลิกได้ดียิ่งขึ้น
การตั้งชื่อ Title ผมมองว่ามันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ส่วนการปรับนั้น วิธีที่ผมใช้เป็นประจำคือ ดูข้อมูลใน Google Search Console ของเว็บเรา ถ้าคีย์เวิร์ดไหนมีค่า Impression สูง ๆ แต่ CTR ต่ำมาก ๆ อันนี้แหละครับที่ต้องย้อนกลับไปดู Meta Title ซึ่งผมคิดว่าน่าจะยังเขียนได้ไม่ดีพอครับ ดังนั้นก็จัดการปรับหรือเกลาเพิ่มเติมให้มันสมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
จากภาพด้านล่างเมื่อได้ลองเปิดดูสถิติของหน้าเว็บหน้าหนึ่งที่ผมได้ดูแลเว็บนี้ จะเห็นว่าค่า Impression นั้นสูงกว่า 2,410 ครั้ง และตำแหน่งเฉลี่ย ก็ยังอยู่ในอันดับ 7 แต่มีจำนวนคลิกเพียง 16 ครั้ง คิดเป็นค่า CTR คือ 0.7% ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย ดังนั้นหน้านี้ผมสามารถปรับ Title เพื่อให้ CTR สูงขึ้นได้ครับ
ตัวอย่างหน้าที่ CTR น้อย เมื่อเทียบกับ Impression
เห็นไหมครับว่านี่คือปัญหา และมันสามารถแก้ด้วยการปรับ Title
Best Practices ในการเขียน Meta Title
เมื่อเรารู้แล้วว่า Title มีความสำคัญต่อการทำ SEO มากขนาดไหน ยิ่งถ้าเขียนได้แจ่มมากแค่ไหน เราก็สามารถเพิ่มค่า CTR ได้มากขึ้นเท่านั้น นี่คือวิธีการเขียน Meta Title ที่ผมแนะนำครับ
1. ควรมีคีย์เวิร์ดอยู่ใน Title
อันนี้ก็ง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับ เพราะว่ามันจะทำให้เข้าใจได้ว่า หน้าเว็บนี้เนื้อหาหลักเกี่ยวกับอะไร (แต่ต้องมีแค่คีย์เวิร์ดหลัก ห้ามนำคีย์เวิร์ดหลักตัวอื่นมาปนกัน เช่น เราจะ target แมวส้ม แต่ใน Title กลับมีคำว่า "แมวเปรอะ" อยู่ด้วย) แบบนี้ก็อาจจะทำให้ Google สับสนได้ ตกลงบทความนี้พูดถึงแมวเปรอะหรือแมวส้มกันแน่)
2. ความยาวไม่ควรเกิน 65 ตัวอักษร (แต่ก็ไม่ควรสั้นเกินไป)
ควรกระชับและได้ใจความ ก็เพราะว่า Google จะตัดส่วนเกินจากคำที่แสดงบนหน้า SERP ออกไป (กระบวนการนี้คือ truncation) และในทางตรงกันข้าม Title ก็ไม่ควรสั้นเกินไป เพราะอาจจะทำให้อ่านแล้วไม่สื่อความหมายได้หรือไม่ครบประเด็นสำหรับเนื้อเรื่องจะสื่อ
ลองใช้ Title & Description Checker สำหรับเช็คได้เลยครับ
เราจะได้เห็นการแสดงผลแบบจริง ๆ บนหน้า SERP
Note:ในบทความทั่วไปสามารถยึดตามหลักข้อนี้ได้ แต่ในฟอร์แมตอื่นสามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ครับ เช่น หน้า Contact Us เราก็คงไม่สามารถเขียนได้ยาวถึง 65 ใช่หรือไม่ ?
3. ไม่ควรซ้ำกันในแต่ละหน้า
Title Tag ไม่ควรซ้ำกันกับหน้าอื่น ๆ เพราะจะทำให้ Google สับสนได้ว่าควรนำหน้าไหนมาแสดงผลกันแน่ จนทำให้เกิด Keyword Cannabalization (การแข่งขันคีย์เวิร์ดกันเองในแต่ละหน้า)
4. คีย์เวิร์ดหลักควรอยู่ในตำแหน่งแรก ๆ
คีย์เวิร์ดที่เรา target ควรจะอยู่ในลำดับแรกสุดที่จะเป็นไปได้ เสมือนว่าเราให้น้ำหนักกับคีย์เวิร์ดนี้นะ
5. ตรงปก ไม่ clickbait
เนื้อหาที่คนเปิดเข้าไปอ่านกับ Title ที่คนเสิร์ชเจอก็ควรเป็นเรื่องเดียวกัน พูดง่าย ๆ ก็คือตรงปก สมมติว่าคนกำลังเสิร์ช "แมวส้ม" เนื้อหาที่คนเปิดอ่านเจอก็ควรเป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ "แมวส้ม" ใช่ไหมครับ สมมติถ้าไม่ตรง อาจจะทำให้คนอ่านเกิดภาพจำว่าเว็บเราออกแนว clickbait ต่อไปเมื่อเว็บเราแสดงผลในคีย์เวิร์ดที่เขาเหล่านั้นค้นหา ก็อาจจะไม่อยากคลิกอีกเลย กลายเป็นภาพจำที่ไม่ดีทั้งต่อคนอ่านและ Google (เพราะมันจะเกิด Bounce Rate)
6. เช็คคำให้ดี ห้ามมีคำผิด
ส่วนนี้ก็เป็นเรื่องปกติทั่วไปเลยครับของการเขียน ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของเว็บเราได้เลย ถ้าคนอ่านที่เจนจัดหน่อยและค่อนข้างซีเรียสกับความถูกต้องของการใช้คำ อาจจะทำให้เว็บเราเกิดภาพจำที่ไม่ดีกับคนเหล่านั้นได้เลยครับ ยิ่ง Title ด้วยแล้ว คนที่เสิร์ชยิ่งเห็นคำได้ชัดเจน
7. อย่าใช้คีย์เวิร์ดซ้ำกันไปมา
ยกตัวอย่างบทความนี้ "Meta Title แท็กสำคัญสุดสำหรับ SEO" แบบนี้โอเคร แต่ถ้าเป็น "Meta Ttile คือแท็กอะไร และ Meta Title สำคัญยังไงต่อ SEO" แบบนี้จะเป็นการย้ำคีย์เวิร์ด (Word Repititions) ซึ่งอาจจะทำให้ดูเป็นการสแปมคีย์เวิร์ด จริง ๆ แล้วแค่ใช้ครั้งเดียวมันก็น่าจะสื่อความหมายเพียงพอแล้ว
ไม่ควรย้ำคีย์เวิร์ดและมีคำสะกดผิดใน Title
8. มี Call to Action (CTA)
ในความเป็นจริงแล้ว Title ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในเฉพาะบทความเท่านั้น ใช่ไหมครับ ? เช่น เรามีหน้า Services อะไรแบบนี้ เราสามารถใส่ Call to Action เช่น "บริการ xxx ทดลองใช้งานฟรี" เสริมเข้าไปใน Title ได้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้คนสนใจและเกิดการคลิกได้เป็นอย่างดี
สรุป
Meta Title เปรียบเสมือนชื่อเรื่องของหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า โดยเป็นหนึ่งในแท็กสำคัญสำหรับการ optimize SEO เพราะว่ามันเป็นข้อความที่ถูกใช้แสดงผลบนหน้า Google Search ดังนั้นควรเขียนให้ดีและดึงดูดที่สุดที่จะเป็นไปได้ โดยเขียนให้ optimize ต่อทั้ง User และ Search Engine
และวิธีการเขียน Title ที่ดีนั้น
- มีคีย์เวิร์ดหลักใน Title
- มีความยาวไม่เกิน 65 ตัวอักษร แต่ก็ไม่ควรสั้นกว่า 50
- Title ไม่ควรซ้ำกับหน้าอื่นในเว็บของเรา
- คีย์เวิร์ดควรอยู่ในตำแหน่งแรก ๆ
- ตรงกับเนื้อหาจริง ไม่ clickbait
- ห้ามมีคำผิด
- ห้ามเขียนคีย์เวิร์ดซ้ำไปมา
- มี Call to Action (สำหรับบางฟอร์แมต)
ก็จบลงไปแล้วครับสำหรับ Meta Title ซึ่งเป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญต่อการทำ SEO ค่อนข้างมากเลยก็ว่าได้ เมื่อเรารู้และเข้าใจแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับแท็กตัวนี้แล้ว ต่อไปเราก็พร้อมที่จะปรับเว็บของเราให้ดีต่อ SEO ขึ้นไปอีก 1 ระดับกันแล้วครับ