• Home
  • Blog
  • เข้าใจ Search Intent ปัจจัยสำคัญลำดับแรก ๆ ของการทำ SEO

เข้าใจ Search Intent ปัจจัยสำคัญลำดับแรก ๆ ของการทำ SEO

Son Content Mastery
Updated: Nov. 22, 2023


แก่นของการทำ SEO เพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่ามันคือ Search Intent นี่แหละ !! เพราะนั่นหมายถึงการที่เราเข้าใจผู้ใช้เป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของการเสิร์ชของผู้ใช้ !! ผู้ใช้ชอบ ส่งผลให้ Google ชอบเราตามไปด้วย อันดับเว็บเราดีขึ้น เห็นไหมครับนี่มันส่งผลต่อ SEO แบบเต็ม ๆ

 

Search Intent คืออะไร ?

Search Intent หรือ User Intent คือ จุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้ เมื่อได้พิมพ์ลงไปใน Google (หรือ Search Engines ตัวอื่น) โดยเมื่อค้นหาแล้วคาดหวังหรือต้องการคำตอบหรือผลลัพธ์แบบไหน เช่น เพื่อหาข้อมูล เพื่อดูรีวิวเปรียบเทียบ หรือเพื่อซื้อสินค้า เป็นต้น ซึ่งฟอร์แมตของผลลัพธ์ในแต่ละ Intent ก็จะแตกต่างกันออกไป 

เช่น

  • ถ้าค้นเกี่ยวกับคำว่า "จองโรงแรม" ก็มักจะเจอเว็บเกี่ยวกับจองโรงแรมใช่ไหมครับ
  • ถ้าค้นหา "วิธีการเลี้ยงแมวส้ม" ก็จะเจอบล็อกที่เป็นรูปแบบ how-to อะไรแบบนี้ เป็นต้น


Search Intent สำคัญ ?

ลองจินตนาการดูว่า ถ้าผู้ใช้คลิกเข้าเว็บเราแล้วชอบในเนื้อหา ใช้เวลาในหน้าเว็บเพิ่มมากขึ้น (engagement time เพิ่มสูงขึ้น) เกิดภาพจำที่ดีในสายตาผู้ใช้ เหล่านี้แหละที่จะเป็น signal ให้ Google ได้รับรู้ พร้อมดันอันดับหน้าเว็บเพจเราไปสู่อันดับที่ดียิ่งขึ้น 


สำหรับคนที่ทำ SEO, Content Creator หรือไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ต้องเข้าใจส่วนนี้ให้ดี เพราะมันจะช่วยทำให้เราเลือกทำคอนเทนต์เพื่อไป serve ให้กับผู้ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่พวกเขาต้องการ ทั้งในส่วนของเนื้อหาและก็ฟอร์แมตของคอนเทนต์ที่แสดงผล

ตัวอย่างที่ 1: นาย A กำลังค้นหาใน Google ด้วยคำว่า "SEO คืออะไร" อันนี้ก็ชัดเจนเลยว่า นาย A กำลังหาข้อมูล อันนี้คือ Informational Intent 

นี่เป็นเพียงหนึ่งในประเภทของ Search Intent ดังนั้นเราไปดูกันเต็ม ๆ ครับว่ามีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

ประเภทของ Search Intent

Search Intent จะถูกแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. Informational Intent
  2. Navigational Intent
  3. Transactional Intent


1. Informational Intent

นี่คือ intent ที่ผู้ใช้ต้องการเสิร์ชหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น

  • วิธีเลี้ยงแมวสลิด 
  • วิธีเขียนบทความ SEO
  • Search Intent คืออะไร (เหมือนเนื้อหาบทความนี้) 
  • ฯลฯ

เหล่านี้ที่ว่ามาก็คือ Informational Intent ซึ่งชัดเจนว่าผู้ใช้ต้องการหาข้อมูล ตรงนี้ก็จะสอดคล้องกันกับ Funnel (กรวยการขาย) ระยะที่ 1 คือ Awareness (การรับรู้ของแบรนด์) ถึงไม่ใช่ Intent ที่เกี่ยวข้องกับการขาย แต่ทำให้รู้จักตัวตน แบรนด์ หรือเว็บของเรามากขึ้น ในระยะนี้เราก็ต้องพยายามดึงผู้ใช้เข้ามาเจอเราให้ได้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ แล้วค่อย hook ผู้ใช้ไปใน Funnel ระยะถัดไปเพื่อนำไปสู่ stage ของการขายหรือเกิดการตัดสินใจซื้อ อะไรแบบนี้ เป็นต้น


2. Navigational Intent

Navigational Intent (ถ้าแปลตามตัวก็คือ Intent ที่ใช้นำทาง) คือ Intent ที่ผู้ใช้ต้องการเสิร์ชเพื่อนำทางไปสู่เว็บไซต์ที่ต้องการ และไม่รู้ว่า  URL ปลายทางของเว็บคือ URL ไหน ถึงจะนำทางไปเจอหน้าที่ต้องการได้ (ก็คงยากที่จะมีใครจำ URL เต็มได้เนอะ)  จึงต้องพิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป เพื่อหวังให้ Search Engine นำข้อมูลเว็บปลายทางที่ต้องการมาแสดงผล 

ตัวอย่างเช่น ถ้าผมต้องการจ่ายค่าบิลโทรศัพท์มือถือผ่านเว็บไซต์ของ AIS, True, ฯลฯ ผมก็อาจจะพิมพ์

  • "AIS จ่ายบิล" หรือ
  • "True จ่ายบิล"
  • "3BB จ่ายบิล"

ลงใน Google เพื่อไปยังหน้าการชำระค่าบริการโดยตรง



และเมื่อคลิกเข้าไป



ซึ่งนี่คือ URL เต็ม

https://www.ais.th/consumers/lifestyle/apps-and-services/e-services


หรือถ้าผมต้องการเข้าสู่ระบบอีเมล์ ของ Google Gmail ก็อาจจะค้นหาด้วยคำว่า "Gmail เข้าสู่ระบบ" เพื่อให้สามารถเข้าถึงหน้าเข้า login ของ Gmail ได้ทันที

เพราะเราคงจำ URL ของ Gmail แบบเต็มตามด้านล่างนี้ไม่ได้แน่นอน (และไม่รู้จะจำไปทำไม)

https://accounts.google.com/v3/signin/identifier?hl=th......./


ซึ่ง Search Intent ประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้รู้จักชื่อแบรนด์หรือชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการค้นหาอยู่แล้ว และใช้ Google Search เพื่อนำทางไปยังหน้าเว็บนั้น ๆ โดยตรง ซึ่งก็สอดคล้องกันกับชื่อ Navigational Intent 

3. Transactional Intent

Transactional Intent คือ ประเภทของการค้นหาที่ผู้ใช้ต้องการทำธุรกรรมบางอย่างผ่านการเสิร์ช โดยปกติเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการทันทีที่ผู้ใช้ได้ทำการค้นหา ซึ่งแน่นอนครับว่าพวกเขาทราบดีอยู่แล้วว่าต้องการซื้ออะไรและต้องการเข้าถึงหน้าบริการ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้านั้น ๆ ในทันที ตัวอย่าง เช่น

  • จองโรงแรม,
  • ซื้อ Iphone 14
  • ซื้ออาหารแมวเลีย
  • เช่าชุดแต่งงาน ฯลฯ 
  • คาเฟ่ใกล้ฉัน (อันนี้ก็พร้อมที่จะไปนั่งจิบกาแฟ ถ่ายรูป เสพบรรยากาศ ฯลฯ ที่คาเฟ่แล้วเนอะ)

นอกจากการซื้อของออนไลน์แล้ว Transactional Intent ยังรวมถึง action อื่น ๆ เช่น การสมัครรับข่าวสารหรือดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ (พูดง่าย ๆ ก็คือมันเป็น Intent ที่จะนำไปสู่ Conversion นั่นเองครับ)

Search Intent ประเภทนี้ผู้ใช้มักจะไม่ได้ต้องการค้นหาข้อมูลหรือเปรียบเทียบสินค้าหรือบริการอีกต่อไป (เพราะหาข้อมูลมาเป็นอย่างดีก่อนหน้านี้แล้ว) แต่พวกเขาอยู่ในโหมดพร้อมที่จะเปย์แล้ว ดังนั้นจึงเป็นการบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า Transactional Intent ช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผู้ใช้เป็นลูกค้าได้ในที่สุด ดังนั้นเราต้องทำการบ้านในส่วนของ Keyword Research ในส่วนนี้ให้ดี ๆ เลย



และนี่คือ SEO Funnel Keywords ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Search Intent ครับ (เผื่อเป็นประโยชน์)


SEO Funnel Keywords


สิ่งสำคัญ...อย่าลืมนึกถึง Content Formats !!

นอกจากการที่เราต้องรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไรเมื่อเสิร์ชคำเหล่านั้น เราก็ต้องวิเคราะห์ฟอร์แมตของคอนเทนต์ที่จะนำไปแสดงผลด้วยครับ เพราะว่า Search Intent แต่ละตัวมี Content Formats ที่เหมาะสมที่สุดที่แตกต่างกันไป เช่น

  • Blog (ค้นหาข้อมูลหรือรีวิว)
  • Video (ค้นหาข้อมูลหรือรีวิว)
  • Map Packs (ค้นหาสถานที่ เกี่ยวข้องกับ Local SEO)
  • Product Page (ค้นหาเพื่อซื้อ...Transactional Intent)
  • Review Page (ค้นหารีวิว)
  • Etc

ถ้าผู้ใช้ค้นคำว่า "โรงแรมใกล้ฉัน" หรือ "คาเฟ่ใกล้ฉัน" ก็จะเจอฟอร์แมตในรูปแบบ Map Packs (ที่เป็นแผนที่และที่ตั้งร้าน ซึ่งผลลัพธ์มันจะ based on โลเคชันที่เราพักหรืออาศัยอยู่ในขณะนั้น) แบบด้านล่างนี้ ซึ่งถ้าเราเอาคีย์เวิร์ดหรือ Search Intent เหล่านี้ไปทำเป็น Blog อย่างเดียวนั้น น่าจะทำให้เสียโอกาสตรงนี้ได้เลยครับ เพราะมันเป็นฟอร์แมตที่ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ ดังนั้นเราก็ควรจะไป optimize ในส่วนของ Local SEO โดยเฉพาะการปรับ GMB (Google My Business) ของเราถึงจะเหมาะสม แทนที่จะใช้เป็น Blog Posts แบบเดียวกันหมด เป็นต้น




Q: แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าผู้ใช้ต้องการผลลัพธ์ของการเสิร์ชแบบไหน หรือ Search Intent นั้นควรจะ serve อะไรให้ผู้เสิร์ช ?

A: จริง ๆ ก็มีหลายวิธี แต่อันนี้เป็นวิธีส่วนตัวนะครับ คือให้เราลองเสิร์ชไปตรง ๆ บน Google เลยครับ และสังเกตดูว่าฟอร์แมตของคอนเทนต์ที่แสดงผลด้วยคีย์เวิร์ดหรือ Search Intent นั้น ๆ เป็นรูปแบบใด เช่น "คาเฟ่ใกล้ฉัน" อันนี้ก็จะขึ้น Map Packs ตามด้านบนใช่ไหมครับเหมือนที่เราเสิร์ชหาพวกโรงแรมต่าง ๆ อันนี้ก็ไปปรับพวก Google My Business ตามที่กล่าวไปด้านบน ดังนั้นลองนำ Search Intent ที่มีในใจตอนนี้ไปเสิร์ชดูครับ ถ้า Google นั้น prefer ฟอร์แมตหรือคอนเทนต์สไตล์ไหน เราก็ควรจะทำคอนเทนต์ฟอร์แมตนั้นครับ Blog, Review, Video, Product, Map Pack, bla bla bla....


สรุป

Search Intent แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ Informational, Navigational, & Transactional Intent ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทำ SEO ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ เพราะว่าจะช่วยให้เราเข้าอกเข้าใจผู้ใช้ว่า พวกเขากำลังค้นหาอะไร และผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการเป็นฟอร์แมตรูปแบบไหน เช่น Blog, Video, Review, Map Pack, Product, etc  ถ้าเรานำเสนอสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาได้ตามที่พวกเขาต้องการ ก็จะทำให้ผู้ใช้ชอบ และ Google ก็ชอบ จนเว็บเราดูดี มีคุณค่าทั้งในสายตาผู้ใช้และ Google ส่งผลทำให้ Google นำเว็บเราไปแสดงผลในลำดับแรก  ๆ ได้เลย  


ซึ่งนี่ก็เป็นแค่บางส่วนเท่านั้นครับ แต่ตอนนี้แมวส้มและแมวสลิดผมร้อง ต้องขอตัวไปให้อาหารเจ้าเหมียวก่อน เอาเป็นว่าน่าจะครอบคลุมทุกสิ่งอย่างที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Search Intent SEO กันแล้วครับ ไว้มีโอกาสผมจะมาอัปเดตให้เพิ่มเติมนะครับ มีคำแนะนำหรือฟีดแบ็คส่วนไหนก็คอมเมนต์กันเข้ามาได้ในโพสต์ Search Intent ในเฟซบุ๊คเพจได้เลยครับ

ส่วนเจ้าขอบธุรกิจท่านใดที่ยังไม่มีเว็บ ต้องการมืออาชีพในการช่วยออกแบบหรือพัฒนาและวางโครงสร้างเว็บและ SEO จาก 0 เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว ลองทักเข้ามาปรึกษาผมได้เช่นกัน ยินดีครับ 

อ้างอิงบางส่วนจาก

Son Content Mastery
Son Content Mastery

ที่ปรึกษาด้าน Web & SEO สำหรับองค์กรและเจ้าของธุรกิจ ชอบการเขียนและแชร์ความรู้ มีความเชื่อว่าความรู้คือสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุด ให้อะไรก็คงไม่เท่าให้ความรู้ หลงไหลในการเดินทางท่องเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ เป็นพ่อของแงว ๆ อยู่หลายตัว เสพติดกาแฟเข้าเส้น เมนูประจำคืออเมริกาโน่


อัพสกิล SEO ด่วน?

ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เรียน SEO พร้อมหลักการทำงานของเว็บ เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของเว็บ พร้อมทั้งสามารถเข้าใจส่วนยาก ๆ อื่น ๆ เช่น Technical SEO ได้แบบไม่มีปัญหา คลาสออนไลน์แบบ private กับ Son contentmastery.io (หรืออบรมในองค์กรแบบ in-house ทางผมก็รับครับ) สามารถติดต่อ พูดคุย สอบถามหรือปรึกษากันก่อนได้ครับ