Keyword Research


Son contentmastery.io
Son contentmastery.io
Updated: Sept. 19, 2024


Keyword Research คืออะไร

Keyword Research  (การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด) คือ กระบวนการวิเคราะห์และค้นหาคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในการสร้างเนื้อหาหรือทำ SEO ให้กับเว็บไซต์  ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกสุดในการการทำ SEO เพราะว่าจะทำให้เราทำเว็บและสร้างคอนเทนต์อย่างมีทิศทาง ไม่สะเปะสะปะ

ทำไม Keyword Research ถึงสำคัญมาก ?

การทำ Keyword Research เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาและสร้างเว็บไซต์ เนื่องจากมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO และการติดอันดับในการค้นหาของเว็บไซต์ ดังนั้น การวิเคราะห์และเลือกคำสำคัญ (Keyword) ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำให้ดีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และประสิทธิภาพที่ดี นำคนเข้าเว็บไซต์ของเราได้เพิ่มขึ้นและตรงกลุ่มนั่นเอง โดยผมขอลิสต์ออกมาเป็น 3 ข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. ช่วยให้เราทำคอนเทนต์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย 

การทำ Keyword Research จะช่วยให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของเราว่าเป็นใคร เราควรจะทำคอนเทนต์รูปแบบใหนเพื่อให้ตรงประเด็นหรือมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อที่เราจะสื่อสารออกไปให้มีประสิทธิภาพและตรงจุดมากที่สุด 

ตัวอย่างเช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราคือ ทาสแมว เราก็ควรที่จะหาคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้องกับแมว วิธีการเลี้ยงและดูแลแมว อาหารแมว สิ่งของหรือไอเท็มต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับแมว

2. ช่วยให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน

Keyword Research จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และทำความเข้าใจกลยุทธ์คีย์เวิร์ดของคู่แข่งได้ ดังภาษิตที่ว่า "รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" ดังนั้นเราจะค้นพบช่องว่างและโอกาสอีกมากมายเลยครับ

3. ช่วยให้เราทำ SEO อย่างมีทิศทาง

ถ้าหากเราไม่วิเคราะห์หาคีย์เวิร์ดที่ดีและเหมาะสมก่อน จะกลายเป็นว่ากำลังทำ SEO แบบไร้ทิศทาง เพราะเราจะไม่มีทางรู้ได้ว่าคอนเทนต์ของเรา เช่น บทความที่กำลังเขียนมีคีย์เวิร์ดที่คนค้นหามากน้อยแค่ไหน เขียนบทความดี คอนเทนต์แจ่ม แต่คนเสิร์ชคีย์เวิร์ดนั้นไม่ถึง 10 ครั้งต่อเดือน หรือเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีคนค้นหาเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ แบบนี้เท่ากับว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ !! (ลงทุนสูญเปล่า)


ความสำคัญของการทำ Keyword Research (Image Source: Ahrefs)

ประเภทของ Keyword

เมื่อรู้ความสำคัญของการทำ Keyword Research แล้ว ต่อมาเราจะมาดูครับว่า คีย์เวิร์ดในทาง SEO นั้นมีกี่ประเภท จริง ๆ แล้วก็มีคีย์เวิร์ดอยู่มากมายหลากหลายประเภท

แต่คีย์เวิร์ดที่มือใหม่ที่เริ่มต้นทำ SEO ควรรู้ไว้ก่อน โดยหลัก ๆ แล้วจะมี 3 ประเภท คือ 

  1. Seed หรือ Root Keywordคือ คีย์เวิร์ดที่สั้นและมีปริมาณการค้นหา (Search Volume) สูง 
  2. Long-tail Keyword: คือ คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจง แน่นอนว่ามีขนาดความยาวของคำและมีความเจาะจงมากกว่าแบบ Root Keyword (แต่ Search Volume ก็จะต่ำกว่า)
  3. LSI Keywords (Latent Semantic Indexing): คือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกันกับคีย์เวิร์ดหลัก เพื่อช่วยให้ Search Engine เข้าใจบริบทของหน้าเว็บหรือคอนเทนต์ของเรามากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างคีย์เวิร์ด "คอนโด" เราสามารถลิสต์ LSI คีย์เวิร์ดออกมาได้ เช่น อาคารชุด ห้องพักติดรถไฟฟ้า ที่พักอาศัยในกรุงเทพ เป็นต้น
Root KeywordLong-tail Keyword
รถยนต์ (40k)รถยนต์มือสอง ราคาถูก สภาพดี (2.6k) 
คอนโด (28k)คอนโด เชียงใหม่ (900)
โรงแรม (26k)โรงแรม อุบล (2.9k)
แมว (179k)แมวสลิด นิสัย (150)

Note: ในวงเล็บคือ Search Volume (ปริมาณการค้นหา/เดือน)


ข้อควรพิจารณาในการทำ Keyword Research

เมื่อเรารู้แล้วว่าคีย์เวิร์ดนั้นสำคัญยังไง ต่อมาจะเป็นการเริ่มต้นทำ Keyword Research โดยมี 3 สิ่งหลัก ๆ ที่เราควรพิจารณาดังต่อไปนี้

1. Relevance (ความเกี่ยวข้อง)

อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงเริ่มต้นว่า การทำคีย์เวิร์ดรีเสิร์ชนั้น จำเป็นต้องเลือกคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือธุรกิจของเราให้มากที่สุด 

2. Search Volume (จำนวนการค้นหาต่อเดือน)

เราต้องรู้ก่อนครับว่าคนค้นหาคำนี้มากน้อยแค่ไหนต่อเดือน คำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไร ก็แน่นอนครับว่าเราจะใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ตัวอย่างอีกเครื่องมือที่นิยมคือ Ubersuggest โดยเครื่องมือตัวนี้จะทำให้เรารู้ Search Volume ได้ครับ

3. Keyword Difficulty (การแข่งขันของคีย์เวิร์ดนี้)

เมื่อรู้จำนวน Search Volume แล้วว่ามีคนค้นหาคำนี้มากน้อยแค่ไหน ต่อมาก็จะเป็นขั้นตอนการดูความยากง่ายในการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนี้ (Keyword Difficulty) ถ้าคีย์เวิร์ดไหนมีการแข่งขันสูง (มีค่า KD สูง) ก็คือเราจะยังไม่ทำ SEO ในคีย์นั้น ๆ เพราะมีเจ้าใหญ่ ๆ ที่ติดอันดับในคีย์เวิร์ดนี้ก่อนหน้าไปแล้ว การแข่งขันจึงค่อนข้างยาก ดังนั้นให้เลือกคีย์ที่การแข่งขันน้อย (ค่า KD น้อย ๆ ก่อน) ค่อยมาพิจารณาเพื่อสู้คีย์เวิร์ดยากภายหลัง

การเลือกเครื่องมือในการทำ Keyword Research

การเลือกเครื่องมือทำ Keyword Research ถ้าจะให้ดีนั้น เราต้องใช้หลาย ๆ เครื่องมือเพื่อเทียบกันครับ เพราะว่าไม่มีเครื่องมือไหนที่แม่นยำที่สุดในตัวเดียว เราใช้บางตัว แต่พอไปหาในอีกตัวจำนวน SV, KD ก็อาจจะแตกต่างกันไป แต่ในเบื้องต้น Ahrefs ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในระดับหนึ่งเลยครับ โดยต่อไปนี้คือเครื่องมือที่ผมแนะนำ

  • Keyword Generator (Ahrefs)
  • Google Keyword Planner
  • Google Search Console: GSC (อันนี้ต้องมีเว็บไซต์และติดตั้ง GSC แล้วเรียบร้อย)

วิธีและขั้นตอนในการทำ Keyword Research

ต่อมาเราก็จะมาเริ่มทำการวิเคราะห์เพื่อหาคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมกันครับ โดยจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. วิเคราะห์ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของเรา
  2. หา Seed Keywords
  3. เลือก Long-tail Keywords เพื่อนำไปทำคอนเทนต์


1. วิเคราะห์ธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายของเรา

นี่คือขั้นตอนแรกสุด ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วก็คงรู้และเข้าใจในธุรกิจที่เรากำลังทำเป็นอย่างดีอยู่แล้วใช่ไหมครับ 

แต่นอกจากเราต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของเราแล้ว เรายังต้องวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจของเราด้วยเช่นกัน โดยวิธีการในเบื้องต้นคือให้เลือกคีย์เวิร์ดที่ต้องการ จากนั้นทำการค้นหาใน Google Search แล้วลิสต์ดูว่าเว็บที่ติดอันดับ 1 - 10 ในหน้าแรกนั้นมีเว็บไหนบ้าง และรูปแบบของคอนเทนต์เป็นแบบไหน เช่น บทความ, FAQ, คลิปวิดีโอ, รูปภาพ Infographic, ฯลฯ

2. หา Seed Keywords

ต่อมาจะเป็นการหาคีย์เวิร์ดแบบ Seeds หรือ Root Keyword ซึ่งเราก็คงรู้คีย์เวิร์ดในธุรกิจหรือเว็บของเราในเบื้องต้นอยู่แล้วใช่ไหมครับ โดยลิสต์ออกมาดูว่า ธุรกิจของเรานั้นมีคีย์เวิร์ดตัวไหนบ้างที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจของเราคือนายหน้าขายคอนโด และนี่คือ Seed Keywords 

  • คอนโด
  • คอนโดมือสอง
  • คอนโดเช่า

Note: ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ และอยากมีคนให้คำปรึกษา ทางเรามีบริการ SEO Consultant ด้วยครับผม


3. เลือก Long-tail Keywords

ต่อเราจะทำการเลือกคีย์เวิร์ดแบบยาวและเฉพาะเจาะจง (Longtail-Tail/Niche Keywords) ไปทำคอนเทนต์กันเพื่อ serve ให้กับผู้ใช้ โดยข้อควรพิจารณาคือ

  • มีจำนวน Search Volume ที่เหมาะสม ไม่น้อยจนเกินไป
  • มี KD ต่ำ (ซึ่งโดยธรรมชาติของคีย์เวิร์ดประเภทนี้ การแข่งขันโดยทั่วไปก็จะต่ำกว่า Seed Keyword อยู่แล้ว)

ซึ่งโดยปกติแล้วถ้า Root Keywords ไหนที่มีจำนวนคนค้นหาเยอะ ๆ ตัว Long-tail Keyword ก็มักจะได้อานิสงส์คนค้นหาเยอะตามไปด้วย ตัวอย่าง เช่น "แมว" มีคนค้นหาต่อเดือนเป็นแสน ๆ ครั้ง ตัว Long-tail Keyword เช่น "แมว นิสัย", "อาหารแมว" , "วัคซีนแมว" ฯลฯ ก็มีแนวโน้มว่าจะมี Search Volume ไม่น้อย
 

โดยขั้นตอนการทำ Keyword Research นั้น เราจะใช้เครื่องมือที่ทั้งฟรีและดีอย่าง Ahrefs Keyword Generator


Ahrefs Keyword Generator


เลือกคีย์เวิร์ดที่ต้องการ โดยในที่นี้ลองค้นหาคำว่า "คอนโด"


ข้อมูลของคีย์เวิร์ดแสดงผลให้เราสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ SEO ได้

จะเห็นว่าตอนนี้เราได้ข้อมูลของคีย์เวิร์ดนี้เป็นที่เรียบร้อย โดยส่วนหลัก ๆ คือ

  • Keyword Phases: คำที่คนค้นหา
  • KD (Keyword Difficulty): ความยากง่ายในการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนี้
  • Search Volume: จำนวนการค้นหา (ต่อเดือน)

แนะนำ: Ahrefs Keyword Generator 

เมื่อ "คอนโด" คือ target keyword ของเรา แต่จะเห็นว่านี่คือ seed keyword เพราะว่าเป็นคำ ๆ เดียว การค้นหาต่อเดือน (search volume) สูง และ KD ก็ยังสูงอย่างไม่ต้องสงสัยเลย คือ 33,000 (33k) ต่อเดือน ดังนั้น สำหรับการเริ่มต้น การทำคีย์เวิร์ดนี้จะถือว่าเป็นคีย์เวิร์ดที่ยากและผมจะขอตัดออกไปก่อนครับ

แน่นอนว่าให้หา "Longtail Keyword" แทน ก็คือให้ค้นหาให้ละเอียดลงไปอีก เช่น "คอนโด เชียงใหม่" จะพบว่าคีย์เวิร์ดจะแคบ เฉพาะเจาะจง หรือ niche มากขึ้น การแข่งขันก็จะไม่สูงเกินไปกว่าแบบแรก แถม search volume ก็ถือว่าสูงใช้ได้เลยทีเดียว


SEO Funnel Keywords

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในส่วนของการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดแล้ว ในการพิจารณาหรือเลือกว่าจะใช้คีย์เวิร์ดไหนบ้างในแต่ละ stage ของ Funnel (กรวยการขาย) ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรรู้ไว้ครับ เพราะว่าจะทำให้เราเลือกคีย์เวิร์ดได้อย่างเหมาะสมตามแต่ละ stage สำหรับ buying journey ของลูกค้า

1. คีย์เวิร์ดในขั้น 1 หรือขั้น Awareness (การรับรู้)

  • Benefit (ประโยชน์)
  • Causes (เหตุผล)
  • Definition (ความหมาย)
  • Explained (อธิบาย)
  • Examples (ตัวอย่าง)
  • Guide (แนะนำ)
  • How to (วิธีการ)
  • Introduction (บทนำ)
  • Learn (เรียนรู้)
  • Overview (ภาพรวม)
  • Reasons (เหตุผล)
  • Tips (เคล็ดลับ)
  • Tutorial (บทเรียน)
  • What (อะไร)
  • When (เมื่อไหร่)
  • Why (ทำไม)

คีย์เวิร์ดในขั้น 2 หรือขั้น Consideration (การพิจารณา)

  • Advantages (ข้อดี)
  • Alternatives (ทางเลือก)
  • Best (ที่สุด)
  • Compare (เปรียบเทียบ)
  • Cost (ต้นทุน)
  • Disadvantages (ข้อเสีย)
  • Expertise (ความเชี่ยวชาญ)
  • Features (คุณสมบัติ)
  • Performance (ประสิทธิภาพ)
  • Quality (คุณภาพ)
  • Ratings (การให้คะแนน)
  • Reviews (รีวิว)
  • Testimonials (รีวิวจากลูกค้า)
  • Top (ที่สุด)
  • Value (คุ้มค่า)
  • VS (เทียบกับ)

ตัวอย่างคีย์เวิร์ดในขั้น 3 หรือขั้น Decision (การตัดสินใจ)

  • Buy (ซื้อ)
  • Checkout (ชำระเงิน)
  • Coupon (คูปอง)
  • Deal (ข้อเสนอ)
  • Discount (ส่วนลด)
  • Free shipping (จัดส่งฟรี)
  • Get (รับ)
  • Guarantee (รับประกัน)
  • Membership (สมาชิก)
  • Offer (ข้อเสนอ)
  • Order (สั่งซื้อ)
  • Price (ราคา)
  • Promo (โปรโมชั่น)
  • Purchase (การซื้อ)
  • Subscribe (สมัครสมาชิก)
  • Trial (ทดลอง)



สรุป

  • การทำ Keyword Research คือขั้นตอนแรกสุดที่เราต้องคำนึงสำหรับการทำ SEO
  • ประเภทของคีย์เวิร์ดมีอยู่ 2 ประเภท (หลัก) คือ 1. Seed/Root Keyword คือ คีย์เวิร์ดแบบกว้าง ๆ มีปริมาณการค้นหาสูง 2. Long-tail Keyword คือ คีย์เวิร์ดที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมสำหรับนำไปทำคอนเทนต์ SEO ในช่วงเริ่มต้น
  • เครื่องมือในการทำ Keyword Research ก็มีอยู่หลายตัว แต่ในเบื้องต้นแนะนำ Keyword Generator ของ Ahrefs ครับ
  • ข้อควรพิจารณาในการเลือกคีย์เวิร์ดคือ 1. Relevance (มีความเกี่ยวข้อง) 2. Search Volume (จำนวนการค้นหาต่อเดือน) และ 3. Keyword Difficulty (ความยากง่ายในการแข่งขัน) สรุปคือเราต้องเลือกคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้อง มีปริมาณการค้นหาที่เหมาะสม ไม่น้อยเกินไป และมีการแข่งขันต่ำ

คำถามที่พบบ่อย

คือการวิเคราะห์เพื่อหาคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมที่สุดในการทำคอนเทนต์
1. ความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดนั้น ๆ (Relevance) 2. จำนวนการค้นหาต่อเดือน (Search Volume) 3. ความยากง่ายในการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนั้น ๆ (Keyword Difficulty)
Long-tail Keyword ก็เพราะว่ามีความเกี่ยวข้องและตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้มากที่สุด และการแข่งขันก็ไม่สูง ทำให้ติดอันดับได้ง่าย

พร้อมอัพสกิล SEO เต็มรูปแบบ?

เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง กับคอร์สเรียน SEO + Web เข้าใจ SEO ในทุกมิติ เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของเว็บ สามารถวิเคราะห์ performance ของเว็บได้ ทำให้วางแผนเพิ่มประสิทธิภาพและ traffic ของเว็บได้ กับคลาสเรียนสำหรับองค์กรและบริษัทต่าง ๆ เรียนกับ Son contentmastery.io ผู้ก่อตั้ง Content Mastery