วิธีเช็ค Technical SEO Audit พร้อม 8 เช็คลิสต์ฉบับเต็ม


Son contentmastery.io
Son contentmastery.io
Updated: Sept. 14, 2024


เราอาจจะ optimize ส่วนอื่น ๆ ของ SEO เช่น On-Page SEO หรือทำคอนเทนต์จนสมบูรณ์แบบแล้ว แต่เว็บก็ยังไม่ติดหน้าแรกเสียที บางทีอาจจะลืมจุดนี้ไปหรือเปล่า เช่น หน้าเว็บที่โหลดช้าเกินไป ประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดีนักของผู้ใช้ต่อเว็บของเรา โครงสร้างต่าง ๆ ของเว็บที่ยังออกแบบได้ไม่ดีนัก แท็กหรือ markup ต่าง ๆ ที่ควรบอกเพื่อเป็นสัญญาณให้ Search Engine เข้าใจเว็บเราได้ดียิ่งขึ้น?

และนี่คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญมาก ๆ ของการทำ SEO นั่นก็คือ "Technical SEO"

Technical SEO คืออะไร ?

Technical SEO คือ การทำ SEO ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งค่อนข้างมีความยุ่งยาก ซับซ้อนกว่าส่วนอื่น ๆ อยู่พอสมควร แต่ถ้าเรามีความเข้าใจส่วนนี้ที่ดีแล้ว จะทำให้การทำ SEO ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นทวีคูณ โดยการทำ Technical SEO จุดประสงค์หลัก ๆ มี 2 ส่วน คือ

  1. เพื่อให้ Google ให้มา crawl (เก็บเกี่ยว) หรือเข้าถึงข้อมูลหน้าเว็บเราได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น (ทำนองว่าเราอำนวยความสะดวกให้ Google มาเก็บเกี่ยวเนื้อหาของเว็บเราได้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้) โดยจะทำให้ Google ทำการ index (จัดทำดัชนี) ของเว็บเราได้ดียิ่งขึ้น
  2. มอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีต่อผู้ใช้ เช่น เว็บไหลลื่น โหลดเร็ว มีลิงก์นำทาง (Navigation) ที่ชัดเจน กดไปหน้าต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีจำนวนการคลิกที่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ รวมไปถึงเว็บมีความปลอดภัย เป็นต้น

บทเรียนที่เกี่ยวข้อง: Search Engine ทำงานอย่างไร ในการจัดอันดับหน้าเว็บ?

และต่อไปนี้คือปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ Technical SEO ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันครับว่ามีอะไรบ้าง

ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อ Technical SEO 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Technical SEO ขอแบ่งออกดังนี้

  • ความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed)
  • Site Structure
  • URL Structure
  • Mobile Friendly
  • SSL Connection
  • Structured Data (JSON-ld)
  • robots.txt


1. ความเร็วของเว็บไซต์ (Page Speed)

Page Speed ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมากในการทำ Technical SEO เพราะว่าถ้าเว็บเราใช้เวลาโหลดหน้าเว็บนานเกินไป จะทำให้คนหมดความอดทนในการรอหน้าเว็บเรา จนทำให้เขาเหล่านั้นกดออกจากหน้าเว็บเราไปในทันที ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ที่ไม่ดี (Bad UX) 

โดยเราสามารถวัดความเร็วหรือ performance ของเว็บผ่าน PageSpeed Insights ได้เลยครับ


ทดสอบ performance ของเว็บใน PageSpeed Insights

ถ้าเว็บเรามี performance ที่ดี มันจะขึ้นเสียเขียวทุกตัว (แต่ไม่จำเป็นต้องได้ครบ 100 ทุกตัวเน้อ เอาแค่ว่าสีเขียวก็คือโอเครแล้วครับ)

ดังนั้นเราจะต้อง optimize การโหลดของหน้าเว็บเราให้เร็วและไหลลื่นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (โดยมาตรฐานแล้ว ช้าสุดไม่ควรเกิน 3 วินาที)


2. Site Structure (โครงสร้างของเว็บไซต์)

นอกเหนือจากเว็บของเรามีโครงสร้างที่ดี เป็นมิตรและเอื้ออำนวยให้ Search Engine ให้เข้ามาเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวก ยังมีอีกส่วนที่สำคัญมาก ๆ คือ ต้องออกแบบโครงสร้างให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ใช้งาน (User Experience) ที่ดีที่สุด

ซึ่งการปรับโครงสร้างเว็บไซต์นั้นแน่นอนว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบตั้งแต่ต้น (แต่ก็คงดีกว่าแน่ ๆ ถ้าเราวางแผนส่วนนี้มาให้ดีตั้งแต่แรก จะได้ไม่ปวดหัวหรือรื้อโครงสร้างในภายหลัง) 


โครงสร้างของเว็บไซต์ที่ดี (Image Credit: Semrush)

จากภาพด้านบนเป็นตัวอย่างของการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี แบ่งเส้นทางของ URLs ได้แบบชัดเจนโดยแยกหมวดหมู่ (Category) ของแต่ละหน้าออกให้ชัดเจน โดยหมวดหมู่แบบนี้อาจจะไม่ได้ตายตัวเหมือนภาพด้านบน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของเว็บไซต์นั้น ๆ ถ้าเว็บใหญ่ก็จะมีหมวดหมู่ต่าง ๆ เยอะและก็จะมี Navigation ที่ซับซ้อนมากกว่าเว็บไซต์ขนาดเล็ก

ตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างของเว็บไซต์ขายหนังสือ Content Mastery Book Shop (สมมติ)

  1. หน้า Home: คือหน้าหลักของเว็บที่จะเป็นหน้าตั้งต้น
  2. หน้าหมวดหมู่ (Category): คือหน้าที่สองถัดจากหน้า Home เช่น หน้า Category นี้ก็จะประกอบไปด้วยหมวดหมู่ต่าง ๆ ของหนังสือแยกกันชัดเจน เช่น นิยาย สารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ สังคม การตลาด เทคโนโลยี เป็นต้น เราก็จะได้ทั้งหมด 7 categories 
  3. หน้าชื่อหนังสือ: เมื่อแบ่ง Category เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ต่อมาก็จะเป็นการแบ่งเป็นหน้าของชื่อหนังสือ ซึ่งหนังสือแต่ละเล่มก็จะมีหน้าของตัวเอง 1 หน้าเว็บเพจ เช่น ในหมวดหมู่ของ "การตลาด" เราก็จะแบ่งชื่อหนังสือออกเป็น เช่น หนังสือสอนการทำ Technical SEO หนังสือสอนการยิงแอด Facebook หนังสือสอน Content Marketing ฯลฯ


3. URL Design & Structure

โครงสร้าง URLs ที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ทำไมผมถึงบอกแบบนี้ ก็เพราะว่าการออกแบบ URLs นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อีกอย่างเลยก็ว่าได้ ถ้าเราดีไซน์ URL ได้ดีนั้น จะส่งผลดีต่อทั้งเสิร์ชเอนจินให้ทำความเข้าใจเว็บเราได้ง่ายและดียิ่งขึ้น และสำคัญเลยก็คือจะทำให้ผู้ใช้งานเว็บเรามีประสบการณ์การใช้งานหน้าเว็บที่ดียิ่งขึ้นเช่นกัน หากเราออกแบบ URL ไว้ดี มีคีย์เวิร์ดและเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน


โครงสร้าง URL



แนวทางการออกแบบ URL ที่ดี 


บทความแนะนำ: การออกแบบ SEO Friendly URLs


4. Mobile Friendly

อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันนั้น Google ให้ความสำคัญกับการแสดงผลบนมือถือมากที่สุด มากกว่าอุปกรณ์แบบอื่น ๆ ดังนั้นหน้าเว็บเราควรจะเป็นมิตรกับผู้ใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น มือถือหรือแท็บเล็ต โดยปกติแล้วเว็บส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ Mobile-friendly หรือ Mobile Responsive กันหมดแล้วครับ


Bootstrap Responsive (photo credit: w3school)


5. SSL Connection

นี่ก็เป็นมาตรฐานไปแล้วครับ ที่ทุก ๆ เว็บไซต์ควรจะมีก็คือ การติดตั้ง SSL Certificate บนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะช่วยทำให้เว็บเรามีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้ที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่ามันช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บเรารู้สึกอุ่นใจได้มากขึ้นนั่นเอง วิธีดูว่าเว็บไซต์ไหนที่มี SSL ติดตั้งหรือไม่ นั่นก็คือเว็บนั้นมีโปรโตคอลที่มี https หรือสังเกตง่าย ๆ คือมีสัญลักษณ์กุญแจปรากฏอยู่บน address bar ของ URL



6. Structured Data

Structured Data เรียกได้อีกแบบว่า Schema Markup เป็นฟอร์แมตที่ช่วยให้ Google เข้าใจเกี่ยวกับหน้าเว็บเพจของเรามากยิ่งขึ้น ทำให้มีโอกาสแสดงผลแบบ rich snippets ในหน้า SERPs ได้ดีมากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งการที่เราได้ส่วนแบ่งพื้นที่ในหน้า Google Search ได้เยอะมากขึ้นอีกด้วย



Photo Credit: Ahrefs - ตัวอย่าง Rich Snippets ในรูปแบบรีวิว ที่แสดงบนหน้า SERP 

จากภาพด้านบน Google ไม่ได้แสดงผลรีวิวหรือรูปดาวแบบนี้ให้เราอัตโนมัติครับ โดยเจ้าของเว็บไซต์ต้องสร้างหรือกำหนด Structured Data ขึ้นมาเพื่อให้ Google แสดง Rich Snippets ในแบบที่เราต้องการ ซึ่งด้านบนเป็นรูปแบบ Review โดยจะได้โค้ด JSON-Ld ด้านล่าง (แต่ Google ก็ได้บอกว่าไม่ได้การันตีเช่นกันว่าจะแสดงผลแบบนี้ให้เรา)

ตัวอย่าง Structured Data แบบ JSON-Ld (Google แนะนำ)

<script type="application/ld+json">
{
  "@context": "https://schema.org/",
  "@type": "Product",
  "image": "http://www.example.com/iphone-case.jpg",
  "name": "The Catcher in the Rye",
  "review": {
    "@type": "Review",
    "reviewRating": {
      "@type": "Rating",
      "ratingValue": "4"
    },
    "name": "iPhone 6 Case Plus",
    "author": {
      "@type": "Person",
      "name": "Linus Torvalds"
    },
    "datePublished": "2016-04-04",
    "reviewBody": "I loved this case, it is strurdy and lightweight. Only issue is that it smudges.",
    "publisher": {
      "@type": "Organization",
      "name": "iPhone 6 Cases Inc."
    }
  }
}
</script>


จากตัวอย่างโค้ด JSON-Ld ด้านบน เราต้องมีความรู้ด้าน coding ด้วยครับถึงจะสามารถออกแบบและกำหนด Structured Data ได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าไม่มีความรู้ coding มากเท่าไหร่นัก ก็สามารถให้ทีม developer ของเราจัดการให้ได้

โดยโค้ดด้านบนจะถูกนำไปวางไว้ในส่วนของแท็ก <head> ... </head> ภายใน HTML code ของหน้าเว็บเพจของเราครับ

เครื่องมือแนะนำ: วิธีการใช้งาน Rich Results Test สำหรับทดสอบ Rich Snippets ของเว็บไซต์


7. การใช้งาน robots.txt 

robots.txt เป็นไฟล์ที่ใช้บอกเพื่อไม่ให้ Search Engine เช่น Google ใช้ bot มาเก็บเกี่ยวเนื้อหาที่เป็นความลับหรือเนื้อหาที่เราไม่อยากให้คนภายนอกเห็น เช่น หน้า Admin หน้า Dashboard อะไรแบบนี้เป็นต้น เพื่อนำไปทำ index แล้วโชว์ในหน้า SERPs

ตัวอย่างไฟล์ robots.txt

User-agent: *
Disallow: /admin/
Disallow: /private/
Allow: /images/
Sitemap: https://www.example.com/sitemap.xml


สรุป

ปัจจัยในการทำ Technical SEO เหล่านี้ที่ได้อธิบายไปนั้น สำหรับผู้เริ่มต้นให้ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปก่อนครับ ซึ่งผมก็หวังว่าจะทำให้เพื่อน ๆ มองภาพรวมในส่วนนี้ออกแล้วไปค้นคว้าด้วยตนเองเพิ่มเติมได้เป็นอย่างดีครับ

หากเพื่อน ๆ หรือท่านเจ้าของธุรกิจสนใจให้เราออกแบบโครงสร้างเว็บรวมถึงไป Technical SEO แบบจัดเต็ม ครบจบในที่เดียว สามารถปรึกษาหรือสอบถามเพื่อติดต่อเราทาง Contact us เพื่อขอใช้บริการเราได้ครับ


คำถามที่พบบ่อย

Technical SEO คือ การทำ SEO ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งค่อนข้างมีความยุ่งยาก ซับซ้อนกว่าส่วนอื่น ๆ อยู่พอสมควร แต่ถ้าเรามีความเข้าใจส่วนนี้ที่ดีแล้ว จะทำให้การทำ SEO ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นทวีคูณ
1. อำนวยความสะดวกให้ Googlebot หรือบอตของเสิร์ชเอนจินมาเก็บเกี่ยวข้อมูลหน้าเว็บเราได้ดีที่สุดและ การปรับปรุงพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เช่น หน้าเว็บโหลดเร็ว สมูธ และมีความปลอดภัย เป็นต้น
การปรับ Site Structure, ความเร็วของเว็บไซต์ การออกแบบ URLs ที่ดี การเพิ่ม Structured Data หรือ Schema Markup เข้ามาในเว็บเพื่อช่วยให้แสดงผลแบบ rich results เป็นต้น

พร้อมอัพสกิล SEO เต็มรูปแบบ?

เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง กับคอร์สเรียน SEO + Web เข้าใจ SEO ในทุกมิติ เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของเว็บ สามารถวิเคราะห์ performance ของเว็บได้ ทำให้วางแผนเพิ่มประสิทธิภาพและ traffic ของเว็บได้ กับคลาสเรียนสำหรับองค์กรและบริษัทต่าง ๆ เรียนกับ Son contentmastery.io ผู้ก่อตั้ง Content Mastery