Semrush



Semrush คือ หนึ่งในเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันเครื่องมือหนึ่งก็ว่าได้ โดยมีฟีเจอร์สำคัญ ๆ ที่จำเป็น เช่น การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) การทำ Keyword Research และการติดตามอันดับ (Position Tracking) และอีกมากหมายหลายฟีเจอร์ ครบจบใน tool เดียว


ซึ่ง Semrush ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสำหรับ SEO เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงฟีเจอร์ที่สามารถใช้ในงาน Digital Marketing ในหลาย ๆ ด้าน ทำให้เป็นที่นิยมในเหล่านักทำ SEO นักการตลาดออนไลน์หรือไม่ว่าจะเป็นดิจิทัลเอเจนซี่ทั่วโลก

ซึ่งนั่นเท่ากับว่า เรามี data หรือ insights อยู่ในมือค่อนข้างครบครัน ดังนั้นรู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง!!

ตัวอย่างฟีเจอร์ของ Semrush

  • 1. Domain Overview: แสดงภาพรวมด้าน SEO และประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวมในหน้าเดียว
  • 2. Keyword Gap: สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งมี แต่เว็บของเราไม่มี
  • 3. Backlink Gap: วิเคราะห์ profile backlinks ของเว็บไซต์ของเราและของคู่แข่ง
  • 4. Keyword Overview: สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลคีย์เวิร์ดเชิงลึกของคีย์เวิร์ดนั้น ๆ
  • 5. Keyword Magic Tool: สำหรับค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้หาคีย์เวิร์ดไอเดียได้อย่างรวดเร็ว
  • 6. Position Tracking: สำหรับ track อันดับของคีย์เวิร์ดที่ต้องการ
  • 7. Link Building Tool: สำหรับค้นหาหรือลิสต์ความเป็นไปได้ของ backlinks และยังมี dashboard สำหรับ follow-up (ติดตามผล) หลังจากเราได้ outreach ไปหาเว็บปลายทาง
  • 8. On-page SEO: ช่วยปรับและวิเคราะห์การทำ On-Page SEO
  • 9. การวิเคราะห์โฆษณา PPC: ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโฆษณา AdWords ของคู่แข่ง

ข้อดีและข้อเสียของ Semrush

ข้อดี

  • มีฟีเจอร์ครอบคลุมในทุกด้านของการทำ SEO
  • เป็นเครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่เป็นที่นิยมของเอเจนซี่หรือบริษัทขนาดใหญ่
  • ข้อมูลมีความแม่นยำสูง
  • UX/UI ใช้งานง่าย
  • มีเครื่องมือสำหรับ SEO Report ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น
  • ฯลฯ

ข้อเสีย

  • ราคาค่อนข้างสูงสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้เริ่มต้น (ยังไม่แนะนำ)
  • มีความซับซ้อนสำหรับผู้เริ่มต้น
  • ข้อมูลบางส่วนอาจไม่ครอบคลุมในบางประเทศ

ดังนั้นเรามาดูฟีเจอร์แต่ละตัวที่สำคัญ ๆ ในเบื้องต้นกันครับ

1. ฟีเจอร์ Domain Overview

Domain Overview คือฟีเจอร์ที่ทำให้เราวิเคราะห์ภาพรวมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในด้าน SEO ไม่ว่าจะเป็นแสดงผล

  • Traffic ทั้งแบบ Organic และแบบ Paid Traffic
  • จำนวน Backlinks
  • ค่า Authority Score
  • คู่แข่งสำคัญ (Top Competitors)
  • คีย์เวิร์ดที่นำ traffic มาให้เราสูงสุด (Top Organic Keywords)
  • ฯลฯ

จากตัวอย่างด้านล่าง ขออนุญาตใช้เว็บอีคอมเมิร์ชยอดนิยมอย่าง shopee.co.th

ตัวอย่าง Domain Overview ฟีเจอร์

  • 1. คะแนนความน่าเชื่อถือ (Authority Score) shopee.co.th มีคะแนนความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 77 คะแนนนี้แสดงถึงคุณภาพโดยรวมและประสิทธิภาพด้าน SEO ของเว็บไซต์ ยิ่งคะแนนสูง ยิ่งแสดงว่าเว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือมากในสายตาของ Semrush (อันนี้ให้มองแบบรวม ๆ ละกันครับ ไม่ต้องไปโฟกัสมาก)
  • 2. การเข้าชมแบบออร์แกนิก (Organic Search Traffic)
    เว็บไซต์ได้รับการเข้าชมแบบ organic traffic ประมาณ 22.1 ล้านครั้งต่อเดือน โดยมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 0.9% ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่า Shopee มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแง่ของการเข้าถึงผู้ใช้ผ่านการค้นหาในเครื่องมือค้นหา
  • 3. Backlinks: เว็บไซต์มี backlinks มากถึง 149.4 ล้านลิงก์ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก แสดงให้เห็นถึงความนิยมและการยอมรับจากเว็บไซต์อื่น ๆ (แต่สแปมก็รวมอยู่ในนี้ด้วยเช่นกันนะครับ)
  • 4. คีย์เวิร์ด: เว็บไซต์ติดอันดับสำหรับคีย์เวิร์ดออร์แกนิก 1.8 ล้านคำ และคีย์เวิร์ดจากการโฆษณา 6.6 พันคำ แสดงให้เห็นถึงความครอบคลุมในการทำ SEO และการทำโฆษณา
  • 5. โดเมนที่ลิงก์มา (Referring Domains): มีเว็บไซต์ที่ลิงก์มายัง shopee.co.th ทั้งหมด 76.5 พันโดเมน ก็ตามความนิยมของเว็บเลยครับ
  • 6. ข้อมูลการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2024)
    - จำนวนหน้าต่อการเข้าชม (Pages/Visits): 7.26 หน้า (มีแนวโน้มลดลง)
    - ระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าชม (Average Visit Duration): 15 นาที 40 วินาที (มีแนวโน้มลดลง)
    - อัตราการตีกลับ (Bounce Rate): 34.20% (มีแนวโน้มลดลง)
  • 7. แนวโน้มการเข้าชมแบบออร์แกนิก: กราฟแสดงให้เห็นว่าในช่วงเดือนล่าสุด Shopee มีผู้เข้าชมแบบออร์แกนิกประมาณ 22-23 ล้านคนต่อเดือน

ดังนั้นฟีเจอร์ Domain Overview ของ Semrush ทำให้เราเห็นภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเว็บไซต์ในด้าน SEO ทั้งในแง่ของการเข้าชม การจัดอันดับคีย์เวิร์ด Backlink Profile และข้อมูลประเทศของ users ที่เข้าชมว่ามาจากประเทศไหนบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ SEO ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


2. ฟีเจอร์ Keyword Overview

อีกฟีเจอร์สำคัญของ Semrush เลยก็คือ Keyword Overview โดยพวกเขาเคลมว่าตัวเองคือฐานข้อมูลด้าน Keyword Research ที่ใหญ่ที่สุดเลยครับ

."Dive into the largest keyword research database on the market"


จากนั้นกดเสิร์ช จะได้ข้อมูลคีย์เวิร์ดที่เราต้องการค้นหา

Note: ถ้าเป็นคีย์เวิร์ดภาษาไทย อาจจะต้องเว้นวรรคคำด้วยครับ

Semrush Keyword Overview



รวมทั้งโชว์หน้า SERP ว่าเว็บไหนบ้างติดอันดับ top 10 สำหรับคีย์เวิร์ด "cat food"



3. Keyword Magic Tool

Keyword Magic Tool เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์เด็ดของ Semrush อีกตัวเลยครับ เพราะว่าเขาจะลิสต์คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมาให้หมดเลยครับ สะดวกครบ ช่วยหาไอเดียของคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งส่วนนี้จะช่วยแนะนำ queries ที่มีแพทเทิร์นหรือคำคล้ายคลึงกันออกมาให้เราได้เลือก (ส่วนตัวแล้ว ส่วนนี้ก็ค่อนข้างสะดวกมาก ๆ เวลาหาคีย์เวิร์ดไปทำ Programmatic SEO)

Keyword Magic Tool


4. Keyword Gap

Keyword Gap เป็นฟีเจอร์ที่ไว้ใช้เปรียบเทียบคีย์เวิร์ด ที่เว็บของเราไม่มี แต่เว็บของคู่แข่งมี

Keyword Gap


ยกตัวอย่าง ลองเปรียบเทียบ 2 โดเมนจากด้านบน สมมติว่าผมเป็นเจ้าของเว็บไซต์แรก แล้วต้องการเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดของเรากับคู่แข่ง คู่แข่งมี แต่เราไม่มี ทำให้เราสามารถนำไปทำ keyword plan ได้ในภายหลังเพื่อเพิ่มโอกาสและ traffic เข้าเว็บ

คีย์ที่คู่แข่งมี แต่เราไม่มี


5. ฟีเจอร์ Backlink Gap

Backlink Gap เป็นฟีเจอร์ที่ทรงพลังสำหรับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบbacklink profile ระหว่างเว็บไซต์ของเรากับเว็บคู่แข่ง ซึ่งช่วยให้เราสามารถค้นหาโอกาสในการสร้าง backlink ใหม่ ๆ ที่คู่แข่งมีแต่ว่าเรายังไม่มีนั่นเองครับ


ซึ่งวิธีการใช้งานก็เริ่มจากการป้อนโดเมนของเราและของเว็บคู่แข่งได้สูงสุด 5 ราย (รวมของเราด้วย) จากนั้น Semrush จะแสดงลิสต์ของโดเมนที่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์คู่แข่ง พร้อมฟีลเตอร์ที่ช่วยให้เราระบุเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปยังคู่แข่งแต่ยังไม่ได้ลิงก์มาที่เว็บของเราได้อย่างรวดเร็ว


คือเราไม่ต้องทำแบบ manual เลยครับ อันนี้ automate ให้เราแบบสุด ๆ เรียกได้ว่าสะดวกมาก ๆ เลย เป็นอีกฟีเจอร์ที่มีประโยชน์จริง ๆ ครับ ทำให้คุณเห็นภาพรวมของกลยุทธ์การสร้าง backlink ของคู่แข่งได้ชัดเจ

โดยข้อมูลที่เราได้จากฟีเจอร์นี้จะช่วยให้สามารถวางกลยุทธ์การสร้าง backlink และการทำ outreach ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเป้าไปที่เว็บไซต์ที่มีศักยภาพสูงที่คู่แข่งของเราได้ประโยชน์อยู่แล้ว


6. ฟีเจอร์ Position Tracking

สำหรับ position Tracking ก็เอาไว้ใช้สำหรับ track อันดับของคีย์เวิร์ดที่เรากำลังโฟกัสอยู่ในขณะนั้นเลยครับ เช่น เราโฟกัสคีย์เวิร์ด "ขายสินค้า A" "ขายสินค้า B" "ขายสินค้า C" อะไรแบบนี้

ซึ่ง Semrush ก็จะมี input ฟอร์มให้เรากรอกคีย์เวิร์ดเพื่อ track อันดับของคีย์เวิร์ดเหล่านี้ได้เลยครับ

ซึ่งอันนี้สำหรับใครที่รับทำ SEO ก็ต้องนำเอาส่วนนี้ไปใส่ report ให้ลูกค้าใช่ไหมครับ เพราะจะได้รู้ว่า ตอนนี้ performance ของแต่ละคีย์เป็นอย่างไรบ้าง อันดับเพิ่มมาเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับช่วงของสัปดาห์ที่แล้วหรือเดือนที่แล้วอะไรทำนองนี้ (ตัวแพ็คเกจเริ่มต้นคือตัว Pro จะ track ได้สูงสุด 500 คีย์เวิร์ดต่อเดือน


Semrush Position Tracking


ราคาและ plan ของ Semrush

ปัจจุบันแพ็คเกจ Semrush pricing มีอยู่ 3 แบบ ดังต่อไปนี้

  • 1. Pro: เหมาะสำหรับฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็ก
  • 2. Guru: เหมาะสำหรับ SMEs และผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO
  • 3. Business: เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และเอเจนซี่


โดยราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 5,000+ บาทต่อเดือนสำหรับแบบ Pro ไปจนถึง 30,000+ บาทต่อเดือนสำหรับแพ็คเกจ Business

แพ็คเกจที่ที่ถูกสุดคือแบบ Pro นั้นใช้ได้สูงสุด 5 โปรเจคท์ (ลองจินตนาการดูว่าเพื่อน ๆ ลองรับงาน SEO มา 5 เว็บ หรือมีเว็บที่ต้องดูแล 5 เว็บ) และสามารถ track คีย์เวิร์ดได้สูงสุด 500 คีย์ (รวมกันทั้ง 5 เว็บแล้ว)


Semrush เทียบกับคู่แข่ง เช่น Ahrefs

เมื่อเทียบกับ Ahrefs นั้น Semrush มีจุดเด่นในด้านการวิเคราะห์โฆษณา PPC และมีฟีเจอร์ที่ครอบคลุมมากกว่า แต่ Ahrefs อาจมีข้อมูลหรือฟีเจอร์ด้าน Backlink ที่ดีกว่า (จุดเด่นของ Ahrefs เลยก็ว่าได้) ในขณะที่ Moz อาจง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น ซึ่งปัจจุบันผมคิดว่าน่าจะตัด Moz ออกไปได้เลยครับ เหลือ Semrush กับ Ahrefs นี่แหละที่เป็นคู่แข่งสมน้ำสมเนื้อกัน

สรุป Semrush คุ้มหรือไม่?

ส่วนตัวคิดว่า Semrush เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังและคุ้มค่าสำหรับผู้ที่ต้องการทำ SEO อย่างจริงจัง หรือทำให้ลูกค้าที่ต้องการข้อมูลในหลากหลายมิติ

แม้จะมีราคาสูง แต่ด้วยฟีเจอร์ที่ครอบคลุมและข้อมูลที่แม่นยำ ทำให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO หรือไม่ว่าจะเป็นด้าน digital marketing แบบครบวงจร

แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น อาจลองดูเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีราคาถูก หรือลองใช้งานดูหลาย ๆ ตัวก่อนในระยะแรก เช่น การทดลองใช้แบบ Free Trial (ทดลองใช้ฟรี)

ซึ่งเครื่องมือ premium ไม่ว่าจะเป็น Semrush หรือ Ahrefs หรือตัวอื่น ๆ เช่น Ubersuggest ฯลฯ ที่อาจจะไม่ได้กล่าวถึงมักจะมีให้ทดลองใช้ฟรีดูครับ ซึ่งจะทำให้เราสร้างโปรเจคท์พื้นฐาน (จำกัดโควต้าการใช้งานและการเข้าถึงบางฟีเจอร์) ลองดูก่อนครับ ถ้าใช้ตัวไหนแล้วชอบ แล้วโดน ก็ค่อยเลือกให้เหมาะสมกับงานและงบของเราครับ