เช็คลิสต์ SEO สำหรับ E-commerce ปี 2025 จาก Nathan Gotch


Son contentmastery.io
Updated: May 27, 2025


พอดีนึกได้ว่ายังไม่ได้เขียนเกี่ยวกับด้าน Ecommerce และบังเอิญไปเจอวิดีโอสรุป "7-Step Ecommerce SEO Checklist" สำหรับปี 2025 จากช่องกูรู SEO ชื่อดังอย่างคุณ Nathan Gotch มา แล้วเห็นว่ามีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เลยขอเอามายำกับของตัวเองที่คิดอยากจะเขียนลองดูครับ

ใครที่ทำเว็บ Ecommerce หรือร้านค้าออนไลน์อยู่ น่าจะเข้าใจกันดีว่าการทำ SEO ให้เว็บขายของนั้นไม่ง่ายและมีรายละเอียดจุกจิกเยอะ เพราะมันไม่ใช่แค่การปรับ On-page หรือหา Backlink แบบผิวเผินทั่วไป

แต่มันคือการต้องจัดการกับหน้าสินค้าที่ค่อนข้างเยอะ (ถ้ามีหลาย SKU) จัดการคีย์เวิร์ดที่ซับซ้อนหลากหลาย Search Intent (ทั้ง Informational, Commercial, Transactional) โครงสร้าง URL และเว็บไซต์ที่ต้องเป๊ะ ไหนจะเรื่อง Technical SEO จุกจิกอย่าง Schema Markup การแก้ปัญหา Duplicate Content (อันนี้สำคัญเลย เพราะมีโอกาสที่คอนเทนต์จะซ้ำได้ค่อนข้างสูง) Site Speed และอีกสารพัดเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ

เช่น ปัญหาเรื่องคลาสสิกที่คนทำเว็บ Ecommerce คือ URL ของสินค้าที่มีหลายตัวเลือก (Product Variants) ที่สร้างเป็นคนละ URL

soncatfood.com/อาหารแมว/ปลาทูน่า-แมวโต-1kg
soncatfood.com/อาหารแมว/ปลาทูน่า-แมวโต-3kg
soncatfood.com/อาหารแมว/ปลาทูน่า-แมวโต-7kg

ถ้าคำอธิบายสินค้า ส่วนผสมหลัก ประโยชน์ bla bla bla แทบจะเหมือนกันหมด ต่างกันแค่ขนาด แบบนี้ก็เข้าข่าย Duplicate Content ได้ครับ

แนวทางแก้ที่เป็นหลักการพื้นฐานคือ

  1. ใช้หน้าสินค้าหลักแค่หน้าเดียวไปเลย
  2. หรือถ้าจำเป็นต้องมี URL แยกสำหรับแต่ละขนาดจริง ๆ ให้ใช้ Canonical Tag
  3. Bla bla bla (แล้วแต่แนวทางของแต่ละคนที่จะมีทีเด็ดเพิ่มเติม)
ส่วนนี้จะไม่ได้อธิบายลงลึกนะครับ เอาไว้เป็นไอเดียหรือแนวทาง เดี๋ยวมันจะยาวเหยียดเกินไป (ซึ่งตอนนี้พอเขียนไปเขียนมาก็เริ่มจะยาวเกินไปล่ะ ... so sad) แต่เดี๋ยวแปะลิงก์ของทาง Google Search ไว้ด้านล่างบทความให้ครับ


เห็นไหมครับว่าไม่ง่ายเลย แค่ URL Structure/Friendly URL ก็ทำเอามึนได้แล้ว แต่เดี๋ยวมาดูในมุมของจารย์ Gotch SEO ว่าแกคิดยังไง โดยผมสรุปมาได้ 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ (อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ไว้เป็นไอเดียละกันครับ)

1. การเข้าใจ Customer Awareness ทั้ง 5 Stages

จุดนี้ผมว่าน่าสนใจมากครับ จารย์ Gotch แกบอกว่าคนส่วนใหญ่ทำ Keyword Research สำหรับ Ecommerce ผิดทางเพราะไม่เข้าใจ 5 ขั้นตอนการรับรู้ของลูกค้า (5 Stages of Customer Awareness) ซึ่งมันส่งผลโดยตรงกับ Intent ในการค้นหา

5 Stages of Customer Awareness


ซึ่งขั้นตอนการรับรู้ที่ว่ามานั้นมีดังต่อไปนี้

Stageคำอธิบาย
1: Unawareขั้นนี้คนเสิร์ชไม่รู้ตัวเลยว่ามีปัญหา/ความต้องการ ขั้นนี้จะเป็นการค้นหาแบบ Informational กว้าง ๆ เช่น "วิธีชงกาแฟ Cold Brew" (ถ้าเราขายเมล็ดกาแฟคั่วเข้ม) คอนเทนต์ stage  ก็จะเป็น Blog Post ให้ความรู้เพื่อสร้าง Awareness
2: Problem Awareเริ่มรู้ปัญหา แต่ยังไม่รู้ทางแก้ อาจจะเริ่มค้นหา "กาแฟคั่วเข้มกับคั่วอ่อนต่างกันยังไง"
3: Solution Awareรู้ทางแก้แล้ว แต่กำลังเลือกแบรนด์ เริ่มมองหา "เมล็ดกาแฟคั่วเข้มยี่ห้อไหนดี"
4: Product Awareรู้จักสินค้าเราแล้ว กำลังเปรียบเทียบ อาจจะค้นชื่อสินค้าเราเทียบกับคู่แข่ง เช่น "Nana Coffee Roaster vs Bluekoff"
5: Most Awareพร้อมซื้อ ค้นหาโปรโมชัน หรือชื่อสินค้ารุ่นที่เราต้องการซื้อเลย เช่น "เมล็ดกาแฟคั่วเข้ม Nana Coffee Roasters โปรโมชัน"



จารย์ Gotch แนะนำให้เราเริ่มทำ Keyword Research จากปลายทาง คือ Stage 5 (Most Aware) แล้วค่อย ๆ ไล่ย้อนกลับขึ้นไปครับ เพราะมันจะทำให้เราโฟกัสไปที่กลุ่มคนที่พร้อมจ่ายก่อน แล้วค่อยขยายไปสร้าง Awareness ทีหลัง ซึ่งผมว่ามัน make sense สำหรับ Ecom



2. Technical SEO แบบลงลึก

เรื่อง Technical SEO นี่หลายคนอาจจะมองข้าม หรือทำแค่ผิวเผิน แต่จารย์ Gotch เขาเน้นเลยครับว่าต้องลงลึก และเครื่องมือที่ใช้ก็คือ Screaming Frog (แน่นอน ชาว SEO รู้จักกันดี) ที่ควรจะ Integrate กับทั้ง Google Analytics 4 (GA4), GSC, PageSpeed Insights และ Ahrefs API เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนที่สุด

การ Audit ที่แกแนะนำไว้ก็คือ

Crawl Depth (ความลึกในการเก็บข้อมูล)
ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า หน้าสำคัญ ๆ ของเรามันอยู่ลึกเกินไปไหม (เช่น ต้องคลิกเข้าไป 3-4 ชั้นกว่าจะถึง) คือถ้าลึกไป Google Bot มันขี้เกียจไต่ไปหาครับ (หรือจะไต่ไปหาเจอยากก็ว่าได้)

โดยวิธีแก้เบื้องต้นคือการใช้ประโยชน์จาก Site-wide Navigation (เมนูหลักบนเว็บ... ก็คือ Navbar นั่นแหละ) หรือปรับ Internal Link ให้ดี คือทำยังไงก็ได้ให้หน้าเว็บที่สำคัญ ๆ ของเราไม่อยู่ลึกจนเกินไป


ยิ่งคอนเทนต์เราอยู่ลึก bot ก็ยิ่งไต่ไปหายาก



Internal Link Coverage
หน้าไหนมี Internal Link ชี้เข้ามาน้อยเกินไป (แกยกตัวอย่างว่าอย่างน้อย ๆ ต้อง 5 ลิงก์เป็นอย่างต่ำ) ต้องรีบหาทางเชื่อมโยงจากหน้าอื่นที่เกี่ยวข้องเข้าไปด่วน ๆ ครับ (ถ้าหน้านั้นมันมีคุณภาพและเราอยากให้มันติดอันดับนะ) 

ถ้ายังหาจุดเชื่อมโยงยาก เพราะมันไม่มีหน้าที่จะเชื่อมมาหาหน้านี้แสดงว่าเราอาจจะต้องสร้าง SEO Content เพิ่มเติมเพื่อสร้างความเชื่อมโยง


ทำบทความใน blog ที่เป็น informational intent เพื่อส่งค่าพลัง topic authority ไปที่หน้า category product/product page ด้วย internal link



Pages with Poor SEO Performance
หน้าไหนที่เคยดีแล้วอันดับตก หรือหน้าไหนที่ทำยังไงก็ไม่ขึ้นสักที ต้องมาวิเคราะห์แล้วจัดการครับ หรืออาจจะลบทิ้งไปเลย ถ้ามัน

  • Irrelevant (ไม่เกี่ยวข้อง)
  • Thin Content (เนื้อหาน้อย)
  • Outdated (ล้าสมัย)


หรือถ้าไม่อยากลบก็ให้ 301 Redirect ไปที่หน้าปลายทางที่ต้องการโฟกัส (ถ้าจะแก้ Keyword Cannibalization) หรือไม่ว่าจะรวมเนื้อหาที่คล้ายกันเข้าไปเป็นคอนเทนต์เดียวกันได้เช่นกัน

Schema Markup
อันนี้สำคัญมากสำหรับเว็บอีคอมฯ ครับ (คือของมันต้องมีในเว็บแนวนี้อ่ะ) เพราะตัว Schema Markup (ยอดนิยมก็คือ JSON/LD) จะช่วยให้ Google เข้าใจบริบท (Context) หน้าเว็บเราดีขึ้น และมีโอกาสได้ Rich Snippets บน SERPs (เดี๋ยวนี้ใช้ ChatGPT ช่วยสร้างโค้ด Schema ได้ง่ายขึ้นเยอะเลยครับ แต่อย่าลืมทดสอบก่อนใช้งานจริงโดยสามารถทดสอบได้ที่ Rich Results Test)

ด้านล่างนี้ก็คือ Schema Markup ที่เกี่ยวข้องกับเว็บอีคอมฯ ครับ (แต่ไม่จำเป็นต้องใส่ครบทุกตัวนะ บางตัวไม่ต้องใส่ก็ได้)

<script type="application/ld+json">
{
  "@context": "https://schema.org/",
  "@type": "Product",
  "name": "ชื่อสินค้าของคุณ (เช่น 'เสื้อยืดคอกลม Cotton 100% สีขาว')",
  "image": [
    "URL รูปภาพสินค้าหลัก.jpg",
    "URL รูปภาพสินค้าเพิ่มเติม1.jpg",
    "URL รูปภาพสินค้าเพิ่มเติม2.jpg"
   ],
  "description": "คำอธิบายสินค้าแบบละเอียด ที่น่าสนใจ และมีประโยชน์ต่อผู้ซื้อ",
  "sku": "รหัส SKU ของสินค้า (ถ้ามี)",
  "mpn": "รหัส MPN ของสินค้า (ถ้ามี)",
  "brand": {
    "@type": "Brand",
    "name": "ชื่อแบรนด์สินค้า (เช่น 'YourBrandName')"
  },
  "offers": {
    "@type": "Offer",
    "url": "URL ของหน้าสินค้านี้โดยตรง",
    "priceCurrency": "THB", // สกุลเงิน
    "price": "790.00",    // ราคา (ไม่ต้องใส่คอมม่า)
    "priceValidUntil": "2025-12-31", // วันที่ราคานี้ยังใช้ได้ (ถ้ามี)
    "itemCondition": "https://schema.org/NewCondition", // สภาพสินค้า (New, Used, Refurbished)
    "availability": "https://schema.org/InStock", // สถานะสินค้า (InStock, OutOfStock, PreOrder)
    "seller": {
      "@type": "Organization",
      "name": "ชื่อร้านค้าของคุณ"
    }
  },
  "aggregateRating": { // ข้อมูลรีวิวโดยรวม
    "@type": "AggregateRating",
    "ratingValue": "4.8", // คะแนนเฉลี่ย
    "reviewCount": "152"  // จำนวนรีวิวทั้งหมด
  },
  "review": [ // ตัวอย่างรีวิว (ถ้ามี)
    {
      "@type": "Review",
      "author": {"@type": "Person", "name": "คุณสมชาย ใจดี"},
      "datePublished": "2025-05-15",
      "reviewBody": "เสื้อสวย ผ้านุ่ม ใส่สบาย ส่งไวมากครับ ประทับใจ!",
      "reviewRating": {
        "@type": "Rating",
        "ratingValue": "5" // คะแนนของรีวิวนี้
      }
    }
  ]
}
</script>


มันก็จะแสดงประมาณนี้ (ตัวอย่างเว็บ Shopee) หน้า Product Category ในส่วนอาหารแมว ซึ่งปกติแล้วเว็บแนวอีคอมฯ ก็มักจะต้องมีในส่วนของ Rating


Rich Result แสดงผลเพราะว่ามีการใช้ Schema Markup

ซึ่งมันก็คือ

"reviewRating": {
        "@type": "Rating",
        "ratingValue": "4.9" 
      }


เปิดเข้าดูหน้า Product Cate...



โค้ด JSON/LD พอไป inspect ดูจะได้ประมาณนี้

<script type="application/ld+json" data-rh="true">{"@context":"http://schema.org","@type":"BreadcrumbList","itemListElement":[{"@type":"ListItem","position":1,"name":"Home","item":"https://shopee.co.th"},{"@type":"ListItem","position":2,"name":"อาหารแมว","item":{"@id":"https://shopee.co.th/list/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7"}}]}</script>
<script type="application/ld+json" data-rh="true">{"@type":"Product","@context":"https://schema.org","name":"[แบ่งซองใส][1kg] MeO อาหารแมว มีโอ แบ่งขาย แบ่งบรรจุ 1 กก.","url":"https://shopee.co.th/-แบ่งซองใส-1kg-MeO-อาหารแมว-มีโอ-แบ่งขาย-แบ่งบรรจุ-1-กก.-i.62754594.7816231451","image":"https://down-th.img.susercontent.com/file/th-11134207-7qukz-ljtanv8032ueb5","aggregateRating":{"@type":"AggregateRating","ratingValue":"4.8","ratingCount":"9514"},"brand":{"@type":"Organization","name":"Me O(มีโอ)"}}</script>



3. Content & Authority Building ใน Ecommerce

มาถึงเรื่อง Content ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ จารย์ Gotch มองว่าสำหรับ Ecommerce มี Content 4 แบบที่เราต้องโฟกัส

1. Product Category Pages
นี่คือหน้าที่สำคัญที่สุดสำหรับ Ecommerce ต้องทำให้ User ได้สิ่งที่เขาต้องการจริง ๆ ไม่ใช่ใส่เนื้อหายืดยาวเป็นเรียงความ (Less is more อาจจะใช้ได้กับหน้านี้)

ตัวอย่างลองเสิร์ชคำว่า "อาหารแมว" ซึ่งอันนี้เป็นคีย์แบบกว้าง ๆ ดังนั้น หน้าที่เจ้าของเว็บต้องทำก็ควรจะเป็นหน้า Product Category ใช่ใหมครับ



ลองเข้าดูหน้าที่อยู่บนอันดับ 1 ซึ่งเป็นเว็บของ Big C เว็บอีคอมเมิร์ชเจ้าดัง (ทั้ง online และ offline) จะเห็นว่าหน้าเว็บส่วนนี้ก็เรียบง่าย ไม่ต้องมีคอนเทนต์อะไรมาก แต่ตอบโจทย์ผู้ใช้เป็นอย่างดี มีฟิลเตอร์ให้เลือกได้ด้วย สามารถหาอาหารแมวได้ครบ จบในส่วนนี้


หน้า product category ของเว็บ Big C



2. Product Pages (สำหรับ SEO)
ควร Optimize หน้าสินค้าจริงจังก็ต่อเมื่อมีสัญญาณจาก SERPs ว่า user ค้นหาด้วย Keyword ที่เจาะจงถึงสินค้านั้น ๆ จริง ๆ (เช่น น้ำยาทำความสะอาดพรมหนังวัว ไม่ใช่แค่ พรมหนังวัว คือต้องเป็น long-tail key ที่เจาะจงไปอีก) เป็นต้น

3. Blog Content (Informational Keywords)
แม้ Informational Intent จะถูกท้าทายจาก AI อย่างที่ผมเคยเขียนไปในบทความล่าสุด แต่สำหรับเว็บ Ecommerce การมี Blog ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า มันยังจำเป็นครับ ซึ่งนั่นก็เพื่อ

  • ดึง Organic Traffic
  • สร้าง Brand Awareness
  • พาคนลง Funnel ลึกขึ้น
  • สร้าง Topic Authority
และที่สำคัญคือคอนเทนต์ของ intent ประเภทนี้มันเรียก Backlink ได้ดีกว่าหน้าขายของเพียว ๆ


Linkbait
คอนเทนต์ที่ออกแบบมาเพื่อล่อ Backlink โดยเฉพาะ (เช่น Free Tools, Infographics, สถิติที่น่าสนใจ) ให้ ChatGPT ช่วย Brainstorm ไอเดียได้เลย

เอาจริงผมก็เพิ่งเคยได้ยินครั้งแรกเลยครับ คำว่า Linkbait ... ตรูไปอยู่ไหนมาฟร่ะ lol



และอีก 2 ส่วนที่สำคัญ ขาดไม่ได้อีกเช่นกัน คือ 

  • การหา Customer Reviews
  • และการสร้าง Backlinks คุณภาพ


เรียกได้ว่าการทำ SEO ให้เว็บ Ecommerce คือการมองภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่

  • การเข้าใจ Customer Journey ผ่าน Keyword Research ที่ลึกซึ้ง
  • การสร้างโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีและ User-Friendly
  • การทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ในแต่ละ Stage ของลูกค้า
  • ไปจนถึงการสร้าง Authority และ Trust ผ่านรีวิวและ Backlinks คุณภาพ


มันคือการผสมผสานทั้งศาสตร์ (เช่น Technical SEO, Data Analysis) และศิลป์ (Content Creation, UX Design, Branding) เข้าด้วยกันอย่างลงตัวครับสำหรับเว็บแนว E-commerce

แล้วเพื่อน ๆ ล่ะครับ มีเทคนิคเด็ด ๆ ในการทำ SEO ให้เว็บอีคอมฯ ของตัวเองยังไงบ้าง? หรือกำลังโฟกัสที่สเต็ปไหนใน Checklist นี้เป็นพิเศษ มาแชร์ประสบการณ์หรือความคิดเห็นกันได้นะครับที่โพสต์บน Facebook ได้เลย


แสดงความคิดเห็น (โพสต์บน Facebook)


อ้างอิงเพิ่มเติม

Son contentmastery.io
Son contentmastery.io

ที่ปรึกษาด้าน Web & SEO สำหรับองค์กรและเจ้าของธุรกิจ ชอบเขียนและแชร์ความรู้ เชื่อว่าความรู้คือสิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดและจะติดตัวเราไปในทุกที่ ให้อะไรก็คงไม่เท่าให้ความรู้ หลงไหลในธรรมชาติและการเดินทาง เป็นพ่อของแงว ๆ อยู่หลายตัว เสพติดกาแฟ อเมริกาโน่


อัพสกิล SEO & Web Marketing?

ลดระยะเวลาลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง เรียน SEO ด้วยแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) สอนครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้าน On-Page, Technical, Web Analytics & Report ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนไปต่อยอดกับเว็บไซต์ธุรกิจของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับองค์กร บริษัทต่าง ๆ